Page 94 - kpiebook63006
P. 94

94    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






                      2. นายเสรีย์ นวลเพ็ง พรรคไทยรักษาชาติ อายุ 63 ปี อดีตนายกเทศมนตรีเมืองบ้านพรุ

             หาดใหญ่ และอดีตครูโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ซึ่งรับราชการครูก่อนอายุ 20 ปี ทำาให้มีลูกศิษย์
             จำานวนมาก โดยเฉพาะลูกศิษย์ที่มีอำานาจและชื่อเสียงทั้งทางการเมืองและราชการ เช่น ไพร พัฒโน

             อดีตนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่และอดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี อดีตผู้บัญชาการ
             ตำารวจท่องเที่ยว และแม้กระทั่งนายภิรพล ลาภาโรจน์กิจ ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ก็เป็นลูกศิษย์

             ของเสรีย์ (คณะทำางานพรรคไทยรักษาชาติ, สัมภาษณ์ 12 มกราคม 2562)


                      อย่างไรก็ตาม แม้เสรีย์ ผ่านประสบการณ์ทางการเมืองมาอย่างยาวนาน แต่บทบาททาง
             การเมืองที่ผ่านมาเป็นที่รู้จักและรับรู้ของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 3 ซึ่ง ต. บ้านพรุ อ.หาดใหญ่

             อยู่ในเขตนี้ ในขณะที่การมาสมัครในพื้นที่เขต 2 นับเป็นการมาสมัครข้ามเขตที่ตนเองมีฐานเสียง
             ค่อนข้างน้อย เพียงแต่คณะทำางานหลายคนเป็นผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองในพื้นที่เขตนี้มาอย่างยาวนาน

             จึงคาดหวังถึงความสัมพันธ์ส่วนตัวของคณะทำางาน กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งและความสามารถในการวางแผน
             กลยุทธ์และแนวทางการหาเสียงจะช่วยตนได้ ประจวบกับเขตนี้อดีตส.ส. คือ ภิรพล คะแนนความนิยม

             ตกตำ่าลงอย่างมาก รวมถึงคะแนนความนิยมของพรรคประชาธิปัตย์ คณะทำางานของพรรคไทยรักษาชาติ
             จึงมองเห็นโอกาสที่เสรีย์ ซึ่งมีความโดดเด่นด้านคุณสมบัติจะสามารถเอาชนะภิรพลได้


                      เมื่อมีสัญญาณของการเลือกตั้งเกิดขึ้นนับว่าเสรีย์ เป็นผู้เริ่มประกาศตัวและแนะนำาตัวเอง
             ให้ประชาชนได้รับรู้ก่อนผู้สมัครรายอื่นๆ ว่าตนลงสมัครในเขตเลือกตั้งนี้แน่นอน ทำาให้เสรีย์และ

             คณะทำางานมีความเชื่อมั่นสูง ว่าเสียงสะท้อนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่อตนเองและพรรคเป็นไปในทางบวก

             เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับอดีตส.ส. ในพื้นที่ซึ่งยังคงเคลื่อนไหวทางการเมืองค่อนข้างน้อย
             ไม่นับในช่วงที่คสช.และรัฐบาลพลเอกประยุทธ์บริหารประเทศที่เขาแทบจะไม่มีบทบาทใดๆ ในการเป็น
             ตัวแทนแก่ประชาชนในเขตเลือกตั้งของตน กลยุทธ์การหาเสียงเลือกตั้งของเสรีย์จึงเน้นไปที่ประสบการณ์

             การทำางานทางการเมืองในระดับท้องถิ่นมาอย่างยาวนานเป็นหลัก ส่วนพรรคและนโยบายพรรคไม่ได้

             เน้นมากนักเนื่องจากพยายามหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้มีการเชื่อมโยงพรรคไทยรักษาชาติว่าเป็นพรรคแนวร่วม
             ของพรรคเพื่อไทย เป็นพรรคของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ดังที่มีการกล่าวถึงกันอย่างแพร่หลาย
             ในระดับชาติว่าพรรคเพื่อไทยใช้กลยุทธ์ “แตกแบ็งค์พัน” ด้วยการจัดตั้งพรรคการเมืองอื่นๆ ได้แก่

             พรรคไทยรักษาชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคเพื่อธรรม อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากระบบการเลือกตั้งแบบ

             จัดสรรปันส่วนผสม

                      ความไม่โดดเด่นของอดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์นับเป็นปัจจัยสำาคัญของพรรคไทยรักษาชาติ

             ในเขตเลือกตั้งนี้ ที่คณะทำางานของพรรคในเขตนี้เชื่อมั่นว่า การเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์ในเขตนี้ได้
             ต้องอาศัยความโดดเด่นของตัวผู้สมัคร ให้มีความเหนือกว่าผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ แทนที่จะ

             เป็นพรรคและนโยบายพรรค (คณะทำางานพรรคไทยรักษาชาติ, สัมภาษณ์ 12 ม.ค. 2562) อย่างไรก็ตาม
             พรรคไทยรักษาชาติก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคเสียก่อนถึงวันเลือกตั้ง
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99