Page 17 - kpiebook63006
P. 17
17
บทคัดย่อ
“การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2562 จังหวัดสงขลา” เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำารัฐประหารเมื่อปี 2557 แล้วหัวหน้าคสช. คือ
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ
1. เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหว และพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร
ในจังหวัดสงขลา 2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมือง
ของประชาชน และกลุ่มการเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัด
สงขลา 3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสงขลา และ 4. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง การย้าย
พรรคการเมือง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสงขลา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ได้แก่
1. การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผู้สมัครรับเลือกตั้งและคณะทำางาน สื่อมวลชน โดยใช้แบบ
สัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 2. การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (non-participation observation)
เมื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งลงพื้นที่หาเสียง เปิดเวทีปราศรัย 3. การสังเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ทั้งระดับ
ชาติและท้องถิ่น โทรทัศน์ สื่อออนไลน์หรืออินเตอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ (social media)
งานวิจัยนี้ใช้แนวคิดทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล (rational choice theory)
แทนการใช้แนวคิดอัตลักษณ์ของพรรคการเมือง (party identification) ที่ใช้อธิบายความเคลื่อนไหวทางการเมือง
และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ของจังหวัดสงขลานับตั้งแต่การเลือกตั้ง
13 กันยายน 2535 จนถึง 3 กรกฎาคม 2554 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ครองความนิยมผูกขาดทุกเขตเลือกตั้ง
มาโดยตลอด แต่การเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 นี้ ไม่สามารถอธิบายได้อีกต่อไปเนื่องจากเกิดการ