Page 18 - kpiebook63006
P. 18

18   การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา






             เปลี่ยนแปลงทางการเมืองในจังหวัดสงขลาอย่างขนานใหญ่ จนส่งผลทำาให้พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเคยมี

             ส.ส. ครบทุกเขตทั้ง 8 เขต ต้องสูญเสียที่นั่งได้รับเลือกตั้งเพียง 3 เขตเท่านั้น

                      ผลการศึกษาได้ตอบวัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยได้วางไว้ทั้งหมดว่า บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ

             และสังคมในการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งห่างจากการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายถึง 8 ปี มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต

             ที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก จนส่งผลทำาให้เกิดความเคลื่อนไหวทางการเมือง และนำามาสู่การเปลี่ยนแปลง
             ทางด้านพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งจังหวัดสงขลา แทนที่จะมีความผูกพันกับพรรค
             ประชาธิปัตย์เหมือนอย่างในอดีต ตามการอธิบายของแนวคิดอัตลักษณ์ของพรรคการเมือง หรือความผูกพัน

             พรรคการเมืองแต่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกตั้งเป็นไปตามการอธิบายของ

             แนวคิด ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล กล่าวคือ ในด้านบริบททางการเมือง ได้แก่ ระบบ
             เลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วน ทำาให้มีผู้สมัครในทุกเขตเลือกตั้งมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ทำาให้ผู้มีสิทธิ
             เลือกตั้งมีทางเลือกในการเลือกตัวแทนของตนเองมากกว่าในอดีต ในขณะเดียวกันเกิดปัญหาความเป็น

             เอกภาพภายในพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งในระดับชาติและในระดับพื้นที่เลือกตั้ง ส่งผลต่อความร่วมมือ

             ในการหาเสียงเลือกตั้ง ในด้านบริบททางเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาวะความเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจมีความ
             สัมพันธ์กับความรู้สึกเบื่อหน่ายต่ออดีตส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเห็นว่าไม่ทำาหน้าที่
             เป็นตัวแทนนำาปัญหาของประชาชนไปนำาเสนอต่อรัฐบาลจึงต้องการเปลี่ยนส.ส.และพรรคการเมือง

             ในขณะที่ในด้านนโยบาย ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐหวั่นเกรงว่า หากพรรคพลังประชารัฐ

             และพลเอกประยุทธ์ไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล และเป็นนายกรัฐมนตรีจะทำาให้เกิดการยกเลิกบัตรดังกล่าว
             ดังนั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจึงสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐ ที่มีนโยบายบัตรประชารัฐซึ่งเป็นนโยบายเดียวกับ
             บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในด้านบริบททางสังคม การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ใน

             การหาเสียงของผู้สมัครและพรรคการเมือง ซึ่งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงโดยเฉพาะในหมู่เยาวชน

             คนหนุ่มสาวที่เป็นผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (first voter) ซึ่งส่วนใหญ่ชื่นชอบพรรคอนาคตใหม่ ทำาให้
             ผู้สมัครของพรรคทุกเขตเลือกตั้งได้รับคะแนนเสียงในระดับมาก ที่ส่งผลต่อคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์
             โดยปริยายเช่นเดียวกับบริบทด้านอื่นๆ ที่กล่าวมา


                      จากบริบทด้านต่างๆ ที่กล่าวมาในการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวทางการเมือง

             ที่แตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อนและพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนสงขลาได้เปลี่ยนแปลงไปด้วย ทำาให้
             ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ชนะเลือกตั้งสังกัดพรรคพลังประชารัฐ 4 คน พรรคประชาธิปัตย์ 3 คน และ

             พรรคภูมิใจไทย 1 คน ในขณะที่ในอดีตพรรคประชาธิปัตย์ชนะในทุกเขตเลือกตั้งนับตั้งแต่การเลือกตั้ง
             13 กันยายน 2535 เป็นต้นมา


                      ค�ำส�ำคัญ: การเลือกตั้งส.ส. สงขลา 2562, ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล,

             อัตลักษณ์ของพรรคการเมือง
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23