Page 181 - kpiebook63005
P. 181
180 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น
คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 55.30 ส่วนพรรคที่สนับสนุนได้รับ 2,422,870 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ
21.88 เสียงที่เหลืออีก 2,525,731 คะแนนหรือร้อยละ 22.82 เลือกพรรคอื่นๆ รวมถึงบัตรเสียและบัตร
ไม่ประสงค์ลงคะแนน แต่หากนับตัวเลขดังกล่าวเฉพาะจังหวัดขอนแก่น จะพบว่า ตัวเลขของพรรคที่
ไม่สนับสนุนฯ คือ 625,490 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 60.30 ส่วนพรรคที่สนับสนุน ฯ คือ 226,140
คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 21.80 ส่วนเลือกพรรคอื่นๆ รวมถึงบัตรเสียและบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนคือ
185,662 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 17.90 ตลอดจน เมื่อพิจารณาถึง ห้าอันดับคะแนนสูงสุดของพรรค
ในภาคอีสาน จะพบว่า อันดับหนึ่งคือพรรคเพื่อไทย ได้ 3,998,222 คะแนนหรือคิดเป็นร้อยละ 36.11
อันดับสองคือพรรคพลังประชารัฐ ได้ 2,372,191 คะแนนหรือคิดเป็นร้อยละ 21.43 อันดับสามคือ
พรรคภูมิใจไทย ได้ 1,728,498 คะแนนหรือคิดเป็นร้อยละ 15.61 อันดับสี่คือ พรรคอนาคตใหม่ ได้
1,584,945 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 14.32 อันดับห้าคือ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 295,990 คะแนนหรือ
คิดเป็นร้อยละ 2.67 ที่เหลือคือ 1,091,848 คะแนนหรือคิดเป็นร้อยละ 9.86 เป็นคะแนนของพรรคอื่นๆ
บัตรเสียและบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน ปรากฏการณ์ดังกล่าวสามารถพิจารณาแยกย่อย ได้ดังนี้
ประกำรที่หนึ่ง คะแนนข้างต้นแสดงให้เห็นว่า คนขอนแก่น (รวมถึงคนอีสานจำานวนมาก)
ยังสนับสนุนพรรคเพื่อไทย หากย้อนกลับไปถึงนโยบายพรรคไทยรักไทยในอดีต โดยเฉพาะนโยบาย
ด้านเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาความยากจนและการลดความเหลื่อมลำ้า ไม่ว่าจะเป็นนโยบายกองทุน
หมู่บ้าน นโยบายจัดสรรเงินให้ทุกหมู่บ้านทั่วประเทศตามขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ หรือเอสเอ็มแอล (SML)
การพักชำาระหนี้เกษตรกร การอุดหนุนราคาสินค้าเกษตร โครงการหนึ่งตำาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โครงการ
30 บาทรักษาทุกโรค กองทุนเพื่อการศึกษา นโยบายสวัสดิการต่างๆ การปราบปรามยาเสพติด ฯลฯ
จะพบว่า พวกเขาได้รับประโยชน์จากนโยบายประชานิยมจำานวนมาก ดังนั้น คนขอนแก่นจึงเลือกพรรค
ไทยรักไทยยกเขตจังหวัดในปี 2548 พรรคพลังประชาชนยกเขตจังหวัดในปี 2550 และพรรคเพื่อไทย
ยกเขตจังหวัดในปี 2554 โดยมิสนใจว่า พรรคจะถูกยุบกี่ครั้งหรือถูกกลั่นแกล้งทางการเมืองเพียงใดก็ตาม
สื่อถึงความผูกพันที่มีให้พรรคการเมืองนี้ แม้ในสายตาจากคนชั้นกลางจำานวนหนึ่งจะมองว่า คนอีสาน
(ซึ่งควรหมายรวมถึงจังหวัดขอนแก่น) เป็นผู้เฉยชาทางการเมือง โง่เขลา ไร้การศึกษาและขาดข้อมูลในการ
เลือกตั้ง ตลอดจนลงคะแนนเสียงเพื่อแลกกับเงิน แต่ในความเป็นจริงกลับตรงข้ามกับมายาคติที่สร้างขึ้น
258
มานี้ กล่าวคือ ด้วยความเป็นประชาธิปไตย การกระจายอำานาจ การเลือกตั้งผู้บริหารในระดับท้องถิ่น
อันเป็นผลพวงมาจากการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และนโยบายเศรษฐกิจของพรรค
ไทยรักไทย ทำาให้คนอีสานได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง รับรู้ถึงความสำาคัญของสิทธิตนเองในฐานะ
259
ประชาชนคนหนึ่งและสัมผัสได้ถึงประชาธิปไตยที่พวกเขาเรียกว่า “ประชาธิปไตยที่กินได้” ตลอดจนเห็น
258 Somchai Phatharathananunth, “The Thai Rak Thai Party and Elections in North-eastern Thailand,” Journal
of Contemporary Asia 38(1) (2008): pp.106-123.
259 ยุกติ มุกดาวิจิตร “เงินไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดการเลือกตั้ง : มานุษยวิทยาการเมืองของ “การซื้อเสียง”,” ใน วสันต์ ปัญญาแก้ว,
การเมืองของราษฎรไทยยุคหลัง (หลัง) ทักษิณ : รวมบทความว่าด้วยเรื่อง ชนชั้นนำา การเลือกตั้ง ผู้มีอิทธิพล (เชียงใหม่ :
โครงการประชาธิปไตยกับท้องถิ่น (SAPAN-CMU-Project), ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่, 2555)