Page 183 - kpiebook63005
P. 183
182 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น
การเคลื่อนไหวเริ่มต้นจากความรู้สึกร่วมกันจากการถูกกดขี่ ความสูญเสียและกระบวนการทำาให้เป็น
คนชายขอบ ดังนั้น มุมมองแต่เดิมที่มองว่าคนชนบทเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการสร้างประชาธิปไตย
266
ที่ถูกตอกยำ้ามาซำ้าแล้วซำ้าเล่า ควรได้รับการรื้อสร้างใหม่
267
หากพิจารณามุมมองข้างต้นผ่านปรากฏการณ์ในจังหวัดขอนแก่นจะพบว่า คนขอนแก่นจำานวนมาก
ลืมตาอ้าปากได้จากนโยบายพรรคไทยรักไทยเรื่อยมา และลิ้มรสถึงความอยุติธรรมจากการรัฐประหาร
ในปี 2549 ตลอดจนการยุบพรรคไทยรักไทยและทำาลายเครือข่ายทักษิณตามแผน 4 ขั้นของพลเอก
สนธิ บุญยรัตกลิน คือ ขั้นแรกยุบพรรคไทยรักไทย เพื่อให้สมาชิกพรรคแตกตัวแยกย้ายกันไปอยู่พรรคอื่น
ขั้นสอง ดำาเนินคดีกรณีทุจริตกับทักษิณ ขั้นสาม ผลักดันให้รัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติและขั้นสุดท้าย
268
ป้องกันไม่ให้เครือข่ายทักษิณกลับมามีอำานาจอีกครั้งภายหลังการเลือกตั้งในปลายปี 2550 อย่างไรก็ตาม
คนขอนแก่นส่วนมากแสดงออกด้วยการเลือกพรรคพลังประชาชนด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย แม้คนที่
269
เคยอยู่พรรคไทยรักไทยแต่ไปลงสมัครพรรคอื่น เช่น นายแพทย์ เปรมศักดิ์ เพียยุระ นายสุวิทย์ คุณกิตติ
นางมุกดา พงษ์สมบัติ ก็พ่ายแพ้แก่ผู้สมัครพรรคพลังประชาชน 270
ขณะที่ต่อมาการเลือกตั้งในปี 2554 ภายหลังจากที่พรรคพลังประชาชนถูกยุบ มีการย้ายพรรค
จากสมาชิกพรรคพลังประชาชนไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย เกิดการปราบปรามกลุ่มคนเสื้อแดงในปี 2552
และ 2553 (จำานวนผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยนับจากปี 2475
เป็นต้นมา) ประกอบกับกลไกรัฐทั้งทหาร ตำารวจ ตลอดจน กลไกข้าราชการมหาดไทยภายใต้การคุม
กระทรวงมหาดไทยของรัฐมนตรีว่าการจากพรรคภูมิใจไทย ได้เพียรพยายามทำาทุกทางมิให้พรรคเพื่อไทย
ชนะการเลือกตั้ง ในช่วงเวลาดังกล่าวจะพบป้ายหาเสียงของพรรคภูมิใจไทยทั่วภาคอีสานระบุว่า “ต่อต้าน
ภาพ (สสส.) (2556) หน้า 59
266 Jim Taylor,“Remembrance and Tragedy: Understanding Thailand’s “Red Shirt” Social Movement,” Sojourn:
Journal of Social Issues in Southeast Asia 27(1) (2102): p.121
267 อเนก เหล่าธรรมทัศน์, สองนคราประชาธิปไตย (กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2550) พิจารณาข้อโต้แย้งงานของอเนกใน
ประจักษ์ ก้องกีรติ. นิทานสอนใจว่าด้วยความโง่ จน เจ็บ ของผู้เลือกตั้งชนบท: มายาคติและอคติของนักรัฐศาสตร์ไทย.
ฟ้าเดียวกัน 6(4) (2552)
268 “บิ๊กบังชี้ เม.ย.-พ.ค. ม็อบป่วน” เดลินิวส์, 20 เมษายน 2550 หน้า 1,14
269 เนื่องจากการเลือกตั้งในปี 2550 ผู้ลงคะแนนสามารถลงคะแนนให้ ส.ส. เขตได้มากกว่า 1 คน ตามขนาดความใหญ่
ของแต่ละเขต และสามารถลงคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อได้ 1 พรรคการเมือง หากพิจารณาจากคะแนนในระบบบัญชี
รายชื่อจะพบว่า เขต 1 ชาวขอนแก่นเลือกพรรคพลังประชาชนถึง 131,375 เสียง ตามมาด้วยพรรคประชาธิปัตย์ 62,901
เสียงและพรรคเพื่อแผ่นดิน 35,140 เสียง เขต 2 ชาวขอนแก่นเลือกพรรคพลังประชาชนถึง 152,564 เสียง ตามมาด้วย
พรรคประชาธิปัตย์ 25,055 เสียงและพรรคเพื่อแผ่นดิน 13,970 เสียง เขต 3 ชาวขอนแก่นเลือกพรรคพลังประชาชน
ถึง 133,809 เสียง ตามมาด้วยพรรคเพื่อแผ่นดิน 66,193 เสียง และพรรคประชาธิปัตย์ 21,208 เสียง และเขต 4
ชาวขอนแก่นเลือกพรรคพลังประชาชนถึง 98,067 เสียง ตามมาด้วยพรรคเพื่อแผ่นดิน 20,317 เสียงและพรรคประชาธิปัตย์
17,814 เสียง ส่วนคะแนนของ ส.ส. เขต โปรดพิจารณาในภาคผนวกของงานวิจัยนี้
270 มุกดาเคยเล่าว่า “ระยะหลังมีชาวบ้านมากระซิบบอกว่า เขาอยากให้มาอยู่พรรคพลังประชาชน (ในขณะนั้น) เพราะเขา
เลือกพรรคนี้ให้มาทำางานมากกว่าที่จะเลือกตัวบุคคล...จริงแล้วเขา (ประชาชน) ก็เสียดาย ว่าทำาไมไปอยู่พรรคเพื่อแผ่นดิน”
(สัมภาษณ์ 5 ธันวาคม 2558) อ้างใน นิพนธ์ โซะเฮง, นักการเมืองถิ่นจังหวัดขอนแก่น (กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า,
2560) หน้า132