Page 185 - kpiebook63005
P. 185

184 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น








             ของธนาธรค่อนข้างแรง ขณะที่ในเขต 2 ต้องยอมรับถึงศักยภาพส่วนตัว การอาศัยโอกาสจากการเป็น

             รองนายก อบจ.ยาวนานกว่า 7 ปีของวัฒนา ช่างเหลาและคะแนนที่ตัดกันเองของพรรคเพื่อไทยและ
             พรรคอนาคตใหม่ จากข้อมูลสัมภาษณ์ชาวบ้านจำานวนหนึ่งพบว่า พวกเขาเลือกวัฒนาในฐานะตัวบุคคล

             ต้องการให้วัฒนาเป็นผู้แทนในพื้นที่ มิได้เลือกในฐานะพรรคพลังประชารัฐที่สนับสนุนให้พล.อ.ประยุทธ์
             เป็นนายกรัฐมนตรี ชาวบ้านรายหนึ่งในตำาบลศิลา อำาเภอเมืองขอนแก่น ให้ข้อมูลกับผู้ช่วยของนักวิจัย

             บางส่วน เช่น แม่ค้าวัย 56 ปี ประกอบอาชีพขายข้าวโพดนึ่ง กล่าวว่า “เราดูที่บุคคล เพราะว่าเขาเคยมามี
             บทบาทกับชุมชน เคยมาช่วยเหลือชาวบ้านแล้วก็เป็นคนในพื้นที่ ต่อให้เขาอยู่พรรคที่เราไม่ชอบก็จะเลือก

             เพราะเราก็ต้องเลือกคนที่ช่วยเหลือเรามากกว่า แม่ไม่ได้มองไปถึงขั้นทั้งประเทศหรอก” ส่วนแม่ค้าขายผัก
             ในตลาดบ้านหนองกุง ตำาบลศิลา กล่าวว่า “วัฒนาดูแลพื้นที่พวกเราเป็นอย่างดี ดูแลมานานแล้ว” ชาวบ้าน

             จำานวนหนึ่งในพื้นที่เดียวกันยังกล่าวอีกว่า วัฒนาจะได้คะแนนสูงกว่านี้หากมิสังกัดพรรคพลังประชารัฐ
             อย่างไรก็ดี ผลการเลือกตั้งในเขต 3-10 ไม่ได้ผิดไปจากความคาดหมายเท่าใดนัก


                      กล่าวได้ว่า นโยบายพรรคเพื่อไทย และความผูกพันของประชาชนที่มีต่อเนื่องมาจากพรรค

             ไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนทำาให้คนเลือกพรรคเพื่อไทย สมชัย ภัทรธนานันท์ นักวิชาการ
             ผู้เชี่ยวชาญในการเมืองในอีสาน วิเคราะห์ว่า นโยบายของพรรคเพื่อไทยในภาคอีสานที่เน้นการพูดถึง

             ปัญหาเศรษฐกิจและเสนอนโยบายแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้น “คล้ายกับวิธีการปราศรัยหาเสียงของพรรค
             ไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน ซึ่งจุดเด่นยังคงอยู่ที่การเสนอนโยบายประชานิยม อันเป็นนโยบาย

             ที่คนมีรายได้น้อย ตลอดจนเกษตรกรในภาคอีสานชื่นชอบ” สมชัยกล่าวอีกว่า “ความเชื่อว่าคนอีสานไม่รู้
             เรื่องการเมือง ถูกพรรคการเมืองซื้อเสียงได้ง่าย ผมคิดว่าใช้อธิบายการเมืองอีสานไม่ได้แล้ว พวกเขาเลือก

             เพราะนโยบาย นโยบายไหนเข้าท่า คนอีสานก็จะเลือก เขาคิดว่าประชาธิปไตยคือหนทางหนึ่งที่จะทำาให้
                                                                            274
             ชีวิตเขาดีขึ้น โดยเฉพาะการใช้สิทธิ์เลือกตั้งเพื่อให้ได้นโยบายที่ต้องการ”

                      ประกำรที่สอง ขณะที่พรรคเพื่อไทยอาศัยวิธีการในการเลือกผู้สมัคร ส.ส. โดยใช้ ส.ส. เก่าเป็นหลัก

             หากส.ส.เก่าไม่ได้ลง จะให้พวกเขาตัดสินใจเลือกเองว่าจะนำาใครลง ส่วนพรรคพลังประชารัฐเลือกที่จะ
             ใช้นักการเมืองท้องถิ่นลงแข่งขัน โดยเอกราช ช่างเหลา ในฐานะผู้คัดเลือกผู้สมัครในจังหวัดขอนแก่น
             (รวมถึง 8 จังหวัดภาคอีสานตอนบน) เชื่อมั่นว่า ด้วยความสัมพันธ์ส่วนตัวของผู้สมัครกับประชาชน และ

             ฐานคะแนนเสียงจำานวนมากจากประชาชนในท้องถิ่นจะส่งผลให้พรรคพลังประชารัฐชนะได้ทุกเขตใน

             ขอนแก่น อย่างไรก็ตาม ผลการเลือกตั้งแสดงให้เห็นว่า หากมินับเขต 2 แล้ว ประชาชนได้ใช้ตรรกะเหตุผล
             คนละชุดในการเลือกระหว่างผู้แทนระดับชาติกับระดับนักการเมืองท้องถิ่น โดยประชาชนเลือกพรรคเป็น
             หลักมิใช่จากตัวบุคคล ดังนั้น มิสามารถสรุปได้ตามความคิดของคนชั้นกลางได้ว่า ประชาชนคนรากหญ้า

             ขาดความสามารถในการคิดไตร่ตรอง
                                              275


             274  อ้างใน “นโยบายประชานิยม มาตรฐานใหม่ของการกำาหนดนโยบายเพื่อคนอีสาน” The Isaan Record, 13 มีนาคม
             2562 https://isaanrecord.com/2019/03/13/populist-policy-isaan-politics/ (เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2562)
             275  อเนก เหล่าธรรมทัศน์, สองนคราประชาธิปไตย (กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2550)
   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190