Page 182 - kpiebook63005
P. 182
181
ถึงพิษภัยของการทำารัฐประหารและผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ตามมาภายใต้การปกครองที่
ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่เพียงเท่านั้น ภาพลักษณ์การมองคนรากหญ้าว่าเป็นคนยากจน ประกอบอาชีพ
260
เดียวเท่านั้นคืออาชีพชาวนานั้น ในความเป็นจริงจากนโยบายการพัฒนาชนบทในอดีตเรื่อยมา การกระจาย
อำานาจ และการปรับตัวเพื่อหลีกหนีความยากจนของชาวชนบท ปัจจัยเหล่านี้ได้ปรับเปลี่ยนพวกเขาให้
กลายเป็นมากกว่าชาวนา พวกเขาคือผู้ประกอบการรายย่อยที่ทำางานมากกว่าอาชีพเดียว ไม่ว่าจะระหว่าง
หรือหลังฤดูทำานาพวกเขาก็จะมีอาชีพอื่นๆ หรือเรียกได้ว่าเป็นสังคมผู้ประกอบการ พวกเขาจำานวนมาก
ได้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากแหล่งทรัพยากรหลายแหล่ง พวกเขามีโลกทัศน์ที่เปิดกว้าง เข้าถึงแหล่งข้อมูล
ข่าวสารได้หลายช่องทาง ที่สำาคัญ พวกเขามิได้จำาเป็นต้องพึ่งพิงกับระบบอุปถัมภ์จากรัฐหรือกลไกรัฐ
ในระดับหมู่บ้านจนถอนตัวไม่ขึ้น ดังนั้น การบีบบังคับให้ต้องเชื่อฟังจากรัฐหรือคำาสั่งจากกำานันผู้ใหญ่บ้าน
261
จึงไม่ได้ส่งผลให้พวกเขาต้องทำาตามแต่อย่างใด พวกเขาพร้อมจะคิด คำานวณ และไตร่ตรองด้วยสำานึก
ทางการเมืองของตนเองอย่างเป็นอิสระ
จากการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกใจ
ที่หลังการรัฐประหารในปี 2549 ทั้งคนอีสานและคนขอนแก่นมีบทบาทสำาคัญในการต่อต้านรัฐประหาร
และปัดปฏิเสธไม่รับกฎกติกาที่คณะรัฐประหารร่างขึ้นผ่านการลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี
2550 ทั้งนี้ พวกเขาไม่เพียงแค่ต่อต้านรัฐประหารเท่านั้น พวกเขายังตั้งคำาถามและท้าทายกับระบบ
คิดของชนชั้นนำาไทยที่มองข้าม/ไม่เห็นคุณค่า ราวกับว่าพวกเขาไม่มีตัวตนทางการเมืองหรือมีสถานะ
เป็นเพียงแค่ไพร่ ด้วยการเข้าร่วมชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย ต่อต้านการแทรกแซงทางการเมืองจาก
ทหาร จากองค์กรอิสระและจากสถาบันต่างๆ แม้การเคลื่อนไหวของคนอีสานทุกครั้งมักจะถูกคนชั้น
262
กลางปรามาสว่า ทำาไปเพื่อต้องการเงิน และถูกพรรคการเมืองเครือข่ายทักษิณซื้อเสียง แต่งานวิจัยของ
263
ทั้งผาสุก พงษ์ไพจิตร และปริญญา เทวานฤมิตรกุล ต่างยืนยันว่า เงินและการซื้อสิทธิขายเสียงไม่
264
ได้ส่งผลต่อผลคะแนนการเลือกตั้ง ขณะที่การเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมืองของพวกเขาก็มิได้ทำาไปเพื่อ
ต้องการเงินหรือเพราะความเหลื่อมลำ้าทางเศรษฐกิจ แต่เกิดจากความโกรธแค้นในระบบความยุติธรรมสอง
265
มาตรฐานในสังคมไทย การถูกดูแคลนจากคนชั้นกลาง และความเหลื่อมลำ้าทางอำานาจ ทำานองเดียวกัน
260 Somchai Phatharathananunth, “Rural Transformations and Democracy in Northeast Thailand” Journal of
Contemporary Asia 46(3) (2016): 516
261 อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์, “รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ “ความเปลี่ยนแปลง “ชนบท” ในสังคมไทย : ประชาธิปไตย
บนความเคลื่อนไหว”” (กรุงเทพฯ: สำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2560); สมชัย ภัทรธนานันท์, “การเมือง
ของสังคมหลังชาวนา: เงื่อนไขการก่อตัวของคนเสื้อแดงในภาคอีสาน” วารสารฟ้าเดียวกัน, 10 (2) (2555)
262 Somchai Phatharathananunth, “Rural Transformations and Democracy in Northeast Thailand.” Journal of
Contemporary Asia 46(3) (2016): pp.504-519
263 อ้างใน “มายาคติเรื่องซื้อเสียง” เดลินิวส์, 20 มกราคม 2557 https://www.dailynews.co.th/article/209832
(เข้าถึงเมื่อ 14 มีนาคม 2557)
264 งานวิจัยเรื่อง เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง (2555) โปรดพิจารณา “ปริญญา
เผยผลวิจัย เงินซื้อเสียงไม่ได้ แนะเลิกยุบพรรค” ไทยรัฐออนไลน์, 17 สิงหาคม 2555 https://www.thairath.co.th/
content/284316 (เข้าถึงเมื่อ 12 มกรมคม 2557)
265 อภิชาติ สถิตนิรามัย, ยุกติ มุกดาวิจิตร และ นิติ ภวัครพันธุ์, รายงานการวิจัยทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย
(ทุนสนับสนุนโดยแผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) และสำานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุข