Page 89 - kpiebook62009
P. 89

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562


               326 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2515 ซึ่งกำหนดให้มีสภาตำบลเพียงรูปแบบเดียว ต่อมาในปี 2537 ได้มี

               การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
               พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546 ซึ่งได้บัญญัติให้สภาตำบลที่มีรายได้เฉลี่ยย้อนหลังเกิน

               150,000 บาท ติดต่อกัน 3 ปี ให้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งถือเป็นองค์กรปกครอง

               ส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบล จำแนกออกเป็น 3 ขนาด คือ ขนาดใหญ่
               ขนาดกลาง และขนาดเล็ก โดยใช้เกณฑ์รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเองเป็นหลัก

                                  โครงสร้างการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย นายกองค์การ

               บริหารส่วนตำบล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง และฝ่ายนิติบัญญัติได้แก่ สมาชิกสภา อบต.
               (ส.อบต.) มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเช่นกัน

                                  ฝ่ายข้าราชการประจำ มีพนักงานส่วนตำบลเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นประจำ

               องค์การบริหารส่วนตำบล โดยแบ่งโครงสร้างของพนักงานส่วนตำบล ออกเป็น สำนักงานปลัดองค์การ
               บริหารส่วนตำบล และส่วนงานด้านต่างๆ

                         2. รูปแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

                           ในขอบเขตของการวิจัยประเมินครั้งนี้ กำหนดให้เมืองพัทยา อยู่ในกลุ่มเดียวกับเทศบาล
               และองค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนกรุงเทพมหานคร แม้ว่าจะเป็นการปกครองรูปแบบพิเศษ ผู้วิจัยไม่ได้จัด

               อยู่ในขอบเขตของการวิจัยประเมินเพื่อรับรางวัลพระปกเกล้า เนื่องจากเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

               ขนาดใหญ่มากในระดับมหานคร
                           2.1 เมืองพัทยา ในปี พ.ศ. 2521 จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหาร

               ราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 โดยมีแนวคิดครั้งแรกเป็นการปกครองท้องถิ่นในรูปผู้จัดการเมืองของ

               สภาเมืองพัทยา มีปลัดเมืองพัทยาเป็นผู้บริหารมาจากการว่าจ้าง สภาเมืองพัทยามีสมาชิก 2 ประเภท คือ
               สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่น และสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งจากส่วนกลาง อำนาจ

               หน้าที่ของเมืองพัทยาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้แก่ การรักษาความสงบเรียบร้อย การใช้ที่ดินและ

               ทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น การให้บริการแก่ราษฎร และการกระทำตามอำนาจหน้าที่เฉพาะกรณี
                       แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้กำหนดให้สมาชิกสภาท้องถิ่นมา

               จากการเลือกตั้งและคณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

               หรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น (มาตรา 285) จึงมีการออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
               ราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ดังกล่าว

                             เมืองพัทยาเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีฐานะเป็นนิติบุคคล ส่วนโครงสร้างเมือง

               พัทยา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ











                                                          48
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94