Page 87 - kpiebook62009
P. 87
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ใช้หลักการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนและสามารถบริหารงาน
โดยอิสระภายใต้กฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ให้ไว้ในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และการนำ
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติปรับปรุง
กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาใช้ทำให้โครงสร้างการบริหารงานทั้งสามส่วนนี้ยังใช้ปฏิบัติจนถึง
ปัจจุบัน
การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยนั้น ได้มีการจัดให้มีรูปแบบประเภท
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็น 5 รูปแบบ ได้แก่
1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
2. เทศบาล
3. องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
4. เมืองพัทยา
5. กรุงเทพมหานคร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 5 รูปแบบนี้ เมื่อพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างและความแตกต่าง
ในด้านของจำนวนประชากร รายได้ พื้นที่ รวมถึงภารกิจและอำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบ ซึ่งสามารถแบ่งได้
เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
1. รูปแบบทั่วไป ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล
ซึ่งมีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้
1.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ฐานะเป็นนิติบุคคล ปัจจุบันการบริหารงาน
เป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2546
ซึ่งได้บัญญัติให้จังหวัดหนึ่งมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วน
ท้องถิ่น เขตขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ เขตจังหวัด ซึ่งมีโครงสร้างการบริหาร อบจ.
ประกอบด้วย ฝ่ายบริหารท้องถิ่น ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ได้แก่ นายกองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด และฝ่ายสภา อบจ. ซึ่งทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ได้แก่ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(ส.อบจ.) มีจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และจำนวนรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ให้ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในจังหวัด กล่าวคือ มีจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดต่ำสุด 24
คน สูงสุดจำนวน 48 คน โครงสร้างการบริหารในส่วนของข้าราชการประจำ มีปลัดองค์การบริหารส่วน
จังหวัด เป็นผู้บริหารสูงสุด และมีหัวหน้าส่วนราชการขององค์กรบริหารส่วนจังหวัดมีหน้าที่รับผิดชอบ
การบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยสรุปต้องจัดทำแผนพัฒนา อบจ.และประสานการจัดทำ
46