Page 88 - kpiebook62009
P. 88
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
แผนพัฒนาจังหวัด ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบล และราชการส่วนท้องถิ่น
อื่น นอกจากนี้แล้ว อบจ.จะต้องจัดทำโครงการหรือกิจกรรมที่เป็นภาพรวมของจังหวัดหรือทำโครงการ
ขนาดใหญ่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กอย่างเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินการ
ไม่ได้ ส่วนอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยังมี ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอน
การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และประกาศคณะกรรมการการกระจาย
อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่องการกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระเบียบบริการ
สาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
1.2 เทศบาล จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และ
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาล พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 12 พ.ศ. 2546
หลักเกณฑ์การจัดตั้งเป็นเทศบาลพิจารณาองค์ประกอบ 3 ประการ คือ (1) จำนวนและความหนาแน่นของ
ประชากรในท้องถิ่น (2) ความเจริญทางเศรษฐกิจ โดยพิจารณาจากการเรียกเก็บรายได้ตามที่กฎหมาย
กำหนดและงบประมาณรายจ่ายในการดำเนินกิจการของท้องถิ่น (3) ศักยภาพของท้องถิ่นในการที่จะ
พัฒนาพื้นที่ให้มีความเจริญได้โดยจัดแบ่งระดับของเทศบาล ออกเป็น 3 ระดับ
1) เทศบาลตำบล มีการพัฒนามาจากการปกครองรูปแบบสุขาภิบาล และยกฐานะ
เป็นเทศบาลตำบลเมื่อเข้าหลักเกณฑ์กับสุขาภิบาล อีกจำนวนหนึ่งเป็นเทศบาลตำบลเมื่อเข้าหลักเกณฑ์กับ
สุขาภิบาล อีกจำนวนหนึ่งเป็นเทศบาลตำบลที่ได้พัฒนามาจากการยกฐานตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลง
ฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 โดยการยกฐานะสุขาภิบาลทุกแห่งให้เป็นเทศบาลตำบลและ
เทศบาลตำบลโดยทั่วไปมีประชากรประมาณตั้งแต่ 7,000 คนขึ้นไป สำหรับสมาชิกเทศบาลตำบลมาจาก
การเลือกตั้งของประชาชน มีสมาชิกจำนวน 12 คน และเป็นผู้บริหารเทศบาลตำบล มีนายกเทศมนตรีมา
จากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเช่นกัน
2) เทศบาลเมือง คือ เทศบาลที่เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหรือเป็นเขตที่มี
ประชากรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป มีสมาชิกสภาเทศบาลมาจากการเลือกตั้งจำนวน 18 คน และ
นายกเทศมนตรีเทศบาลเมือง 1 คน และเป็นผู้บริหารเทศบาลเมือง มีรองนายกเทศมนตรี จำนวน 3 คน
3) เทศบาลนคร คือ เทศบาลที่มีประชากรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป มีสมาชิกสภา
เทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 24 คน และเป็นผู้บริหารเทศบาลนคร มีนายกเทศมนตรี 1 คน และ
รองนายก เทศมนตรี จำนวน 4 คน
โครงสร้างการบริหารเทศบาลทั้ง 3 ระดับ ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร ได้แก่
นายกเทศมนตรี ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน และฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สมาชิกสภา
เทศบาล (ส.ท.) มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเช่นกัน ในส่วนของฝ่ายข้าราชการประจำ มีปลัดเทศบาล
เป็นหัวหน้า รองปลัดฯ และผู้อำนวยการกองต่างๆ
1.3 องค์การบริหารส่วนตำบล จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499 แต่ประสบปัญหาในการบริหารงานและถูกยกเลิกตามประกาศคณะปฏิวัติที่
47