Page 317 - kpiebook62009
P. 317

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



               มาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ระยะหลังภูมิปัญญาและ ความรู้ท้องถิ่นเคยจรรโลงสังคมมา

               ได้สูญเสียไปเพราะผลของการผลิตตามระบบใหม่ ตามกระแสทุน นิยม การจัดการทรัพยากรน้ำโดยระบบ
               เหมืองฝาย น่าที่จะได้รับการฟื้นฟูให้มีพื้นที่ มีบทบาทจรรโลง สังคมล้านนา เพื่อเป็นทางเลือกใน

               การประยุกต์ใช้ในบริบทการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม อย่างเหมาะสม

                            การต่อยอด/ขยายผล
                            การขับเคลื่อนการจัดแหล่งเรียนประโยชน์ของการบูรณาการภูมิปัญญาล้านนาเพื่อ

               การพัฒนา ที่ยั่งยืนของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำฝายพญาคํา จากจุดนี้ทําให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อน

               เพื่อให้เกิด เครือข่ายในการทํางานร่วมกันในการฟื้นฟูภูมิปัญญาระบบเหมืองฝายพญาคํา อันเป็นฝายที่
               เก่าแก่ เป็น ฝายที่ผันจากแม่น้ำปิงเข้าสู่ลําเหมืองพญาคํา เพื่อหล่อเลี้ยงการเกษตรของประชาชนทั้งใน

               อำเภอเมือง เชียงใหม่, อำเภอสารภี และอำเภอเมืองลำพูน อีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่นักเรียน

               นักศึกษา สร้าง ประโยชน์แก่คนในชุมชนมาแต่ช้านาน ควรค่าแก่การสืบสานภูมิปัญญาการจัดการเหมือง
               ฝายของบรรพ ชนให้คงอยู่สืบต่อไปสำหรับประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการร่วมมือกันในการดำเนิน

               โครงการ ดังกล่าว ในการจัดทำหลักสูตรทางวิชาการฝายพญาคํา

                         2) เครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ แบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ
               ท้องถิ่น ชุมชน และคนพิการ(Community Based Rehabilitation Program)”

                            จากสถานการณ์คนพิการในพื้นที่มีจำนวน 291 คน เป็นการพิการทางการเคลื่อนไหว จึงเน

               ที่มาของเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและเครือข่ายคนพิการ ที่เสริมสร้าง “ระบบการดูแล
               ผู้สูงอายุ/คนพิการอย่างครบวงจร”

                            ปฏิบัติการเครือข่าย

                            - มีการให้ความรู้สล่าบ้าน (ช่างพื้นถิ่น) เกี่ยวกับอารยสถาปัตย์เกี่ยวกับคนพิการ/ผู้สูงอายุ”
                            - การขับเคลื่อนงานมีเครือข่ายทั้งภายใน และ ภายนอกชุมชน (เครือข่ายพุทธิกาอบต.ดอน

               แก้ว รพ.นครพิงค์ รพ.สารภีบวรพัฒนา ฯลฯ )โดยเน้นการบูรณาการภาคีเครือข่าย
                            ผลการดำเนินการใน ปี พ.ศ.2561

                            - เป็น NODE พัฒนานักเสริมสร้างสุขภาวะคนพิการในชุมชน

                            - มีการดำเนินการทำธนาคารเวลา (Time Bank)  เป้าหมาย “ออมเวลา ปันด้วยใจ ให้ด้วย
               รัก” เพื่อขยายและพัฒนาอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ เป็นพัฒนานักเสริมสร้างสุขภาวะคนพิการ

               ในชุมชน โดยการเก็บแต้มการทำจิตอาสา เพื่อผู้สูงอายุ และ คนพิการ ซึ่งตอนนี้มีจำนวนสมาชิกที่เป็น

               จิตอาสาทั้งหมด 49 คน มีกระบวนการเก็บและบันทึก “สมุดเบาใจ” ให้กลุ่มเป้าหมายได้แสดงความ
               ประสงค์ว่า “อยากจะทำอะไร ?”

                            - มีศูนย์บริการบริการทางสังคมแก่ผู้สูงอายุและคนพิการ ซึ่งเป็นพื้นที่สร้างชีวิตสร้างสรรค์

               สร้างแรงบันดาลใจแก่จิตอาสา เป็นพื้นที่เชื่อมประสานการทำงานของทุกภาคีส่วน เป็นพื้นที่สร้างและ
               ประสานสิทธิให้ผู้สูงอายุ และคนพิการพึงได้รับ หมายรวมถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆ



                                                         276
   312   313   314   315   316   317   318   319   320   321   322