Page 319 - kpiebook62009
P. 319
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
จุดเด่นของการปฏิบัติงานสร้างเสริมเครือข่าย
เทศบาลตําบลชมภู ค้นหา พัฒนา และสร้างเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม โดยใช้
หลักการ “ห่วงโซ่ ส่วนร่วม บูรณาการ อย่างยั่งยืน” ร่วมกับการทํางานของภาคีเครือข่ายใน 4
องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ระหว่างภาคีเครือข่าย
มีการแบ่งปันและ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ส่งผลให้เกิดชุดความรู้และระบบการจัดการความรู้ร่วมกัน
2) การวางแผนกําลัง (Man) ส่งเสริมให้สมาชิกเครือข่ายมีจิตสาธารณะและทํางานเพื่อส่วนรวม และ
มีการวางระบบการทํางานเป็นทีมระหว่างเครือข่าย 3) การวางแผนงบประมาณ (Budget) ยึดหลักธรรมาภิบาล
ในการทํางานร่วมกันระหว่างภาคี เครือข่ายเพื่อแสดงถึงความโปร่งใส ซึ่งนํามาสู่ความไว้วางใจซึ่งกันและ
กัน 4) แผนกลยุทธ์ (Strategy) ภารกิจ (Mission) และเป้าหมาย (Goal) กําหนดเป้าหมายร่วม สร้างกล
ยุทธ์ในการทํางานเพื่อกําหนดทิศทางในการทํางานร่วมกัน ตลอดจน กําหนดภารกิจร่วมกันระหว่าง ภาคี
เครือข่ายเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการทํางาน จากการใช้หลักการ “ห่วงโซ่ ส่วนร่วม บูรณาการ อย่าง
ยั่งยืน” ช่วยให้เทศบาลตําบลชมภูสามารถพัฒนา และสร้างเครือข่ายในการทํางานได้มากถึง 50 เครือข่าย
และเครือข่ายร่วมกันทํางานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เครือข่ายสําคัญของเทศบาลตําบลชมภู ได้แก่ เครือข่าย
ภาคท้องถิ่น เครือข่ายภาคท้องที่ และเครือข่ายภาคประชาชน ซึ่งเปรียบเสมือนสามเสาหลักใน
การขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น เครือข่ายภาคท้องถิ่น ทําหน้าที่จัดให้มีการบริการสาธารณะที่ตอบสนอง
ต่อปัญหาหรือความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เครือข่ายภาค ท้องที่ ทําหน้าที่พัฒนาพื้นที่แบบคู่ขนาน
ไปพร้อมกับเครือข่ายภาคท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่คํานึงถึงความ อยู่ดีมีสุขของประชาชนร่วมกัน
และเครือข่ายภาคประชาสังคม เป็นกําลังสําคัญในการดําเนินงาน
ความโดดเด่นของเครือข่าย
1) เครือข่ายมีแผนปฏิบัติการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
2) การขับเคลื่อนเครือข่าย เน้น “การมีส่วนร่วมเชิงประเด็น เชิงแผน เชิงปฏิบัติการ”
3) บูรณาการแผนร่วมกัน ผ่านรูปแบบ คณะกรรมการขับเคลื่อน และให้แต่ละเทศบาลบรรจุไว้
เป็นแผนของท้องถิ่นนั้นๆ สู่การขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ
4) มีกฎระเบียบการบริหารน้ำตำบลชมภู
278