Page 315 - kpiebook62009
P. 315
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
คณะผู้บริหาร:
1. นายธวัช ชัยแก้ว นายกเทศมนตรีตำบลชมพู
2. นายประทวน มหายศ ประธานสภาเทศบาลฯ
3. จ่าสิบตรีประสิทธิ์ บัวเต้า ปลัดเทศบาลฯ
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับความโดดเด่นของเทศบาลตำบลชมภู ที่ดำเนินงานมีความเป็นเลิศ ดังนี้
การดำเนินโครงการที่สะท้อนความโดดเด่นของเทศบาลตำบลชมภู มีกิจกรรม/โครงการที่
สะท้อนความเป็นเลิศด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม ดังนี้
เครือข่ายที่น่าสนใจ ได้แก่
1) การขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ผู้ใช้น้ำเหมืองฝายพญาคำ
เทศบาลตำบลชมภู ดำเนินนโยบายเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนา โดยการให้
ความสำคัญกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ในการร่วมกันดำเนินงานแก้ไขปัญหาภายในท้องถิ่น และคำนึงถึง
รูปแบบเครือข่ายในการพัฒนาท้องถิ่น ในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ แต่เพียงลำพังเทศบาลตำบลชมภูจะ
ไม่สามารถแก้ไขปัญหาท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน การเสริมสร้างวัฒนธรรม ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ
ร่วมติดตามประเมินผล ร่วมรับผลประโยชน์และการมีความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ
เอกชน และภาคประชาสังคม รวมไปถึงภาคีเครือข่ายอื่นๆ เป็นการเปิดทางสู่ “การ บูรณการร่วมกัน”
ไม่เพียงแต่การมีส่วนร่วมเฉพาะการเท่านั้น แต่เป็นการ “ร่วมรับรู้และให้ความแสดง ความคิดเห็น” แต่ยัง
เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างความเข้มแข็งให้ภาคประชาชน รวมทั้งการ กระจายการตัดสินใจและ
การดำเนินการสาธารณะออกสู่หน่วยงาน ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดรากฐาน
ที่สำคัญประการหนึ่งของการบริหารงาน แนวคิดการทำงานแบบเครือข่าย การพัฒนาแบบบูรณาการ
ร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องใช้ความอดทน การประสานงาน สร้าง ความเข้าใจ การแบ่งปัน ไม่ยึด
ตำแหน่งและพื้นที่ พร้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการ ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นแนวทางที่ “เทศบาล
ตำบลชมภูร่วมกับเครือข่าย”ถือปฏิบัติมา ทั้งนี้ด้วย ตำบลชมพู เป็นเครือข่ายการใช้น้ำและการบริหาร
จัดการน้ำเหมืองฝายพญาคำ ด้วยเป็นชุมชนปลายน้ำ ทำให้การบริหารจัดการน้ำและดูแลเหมืองฝาย
จะต้องดำเนินการทั้งลำน้ำตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
กิจกรรม
- เริ่มต้น ทำเรื่อง “ความสะอาด ลอกคลองเหมืองฝาย” ในกิจกรรม คลองสวย น้ำใส
- จัดตั้งคณะทำงาน 2 ฝ่าย ได้แก่ คณะกรรมการการใช้น้ำ คณะกรรมการเครือข่าย
ขับเคลื่อน (โดยระบุให้แต่ละ อปท. ผลักเป็นแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเหมืองฝาย)
- ถอดบทเรียนรู้ ได้แก่ การจัดการน้ำของเหมืองฝายพญาคำ การปิด-เปิดน้ำ การบริหาร
จัดการน้ำด้วยกลุ่มผู้ใช้น้ำ ความเชื่อคู่เหมืองฝายเพื่อการดูแลและอนุรักษ์วัฒนธรรมการบริหารจัดการน้ำ
เครือข่าย ได้แก่ 8 ตำบล ชลประทาน อปท. ทั้ง 8 อปท.
274