Page 312 - kpiebook62009
P. 312

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



                            เครือข่ายที่น่าสนใจ ได้แก่

                            1) โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุและคนพิการในศูนย์สุขภาพฯ แบบบูรณาการ
                               เริ่มต้นจากสถานการณ์สุขภาพของผู้สูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เริ่มทำงานกับกลุ่มเป้าหมาย

                  ที่ดูแลตนเองไม่ได้ ในโครงการ Long Tram Care ใช้เกณฑ์ของ สปสช. ได้มีการขับเคลื่อนเครือข่าย จัดทำ

                  บันทึกข้อตกลง มีศูนย์ดูแลและให้ระบบบริการ (รับ-รุก) มีการรับส่ง และมีบริการ Home Help Care ใน
                  การดูแลวงจรชีวิตของผู้สูงอายุติดเตียง และกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง

                               กลไก

                               - มีกลไก Case Management  (CM),  Care Giver (CG) โดยเชื่อมกับเทศบาลเพื่อรับ-ส่ง
                  ผู้สูงอายุ

                               - มีการปฏิบัติงานเชิงทีมสหวิชาชีพ ได้แก่ นักกายภาพจาก รพ.ใกล้หมอ, นักสังคมสงเคราะห์

                  เทศบาล, Care Giver (CG),  อสม.
                               ระบบบริการ

                               - บริการเชิงรับ มีระบบให้บริการฟื้นฟูร่างกาย จิตใจ

                               - บริการเชิงรุก ลงเยี่ยมให้บริการดูแลผู้ป่วยติดเตียง อบรมการผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีการทำงาน
                  กับญาติผู้ป่วย ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง (การให้คำปรึกษา)

                               - พัฒนากายอุปกรณ์ เช่น พลิกตัวโดยผ้าขาวม้า ทำราวไม้ไผ่ ฯลฯ ที่สอดคล้องเหมาะสมกับ

                  ผู้ป่วยติดเตียง หรือ ผู้สูงอายุป่วยติดเตียง
                            2) โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ (ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุเทศบาลตำบลป่าแดด)

                               การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย มีเป้าหมายการขับเคลื่อน คือ “ผู้สูงวัยที่มีคุณค่า ไม่พึงพา

                  ผู้อื่น” และจะต้องเป็น “ผู้สูงวัยที่ไม่ดื้อ เปิดใจ” รู้เท่าทันภาวะทางอารมณ์ของตนเอง จึงอยากมีกิจกรรม
                  ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สะท้อนผ่านมุมมองของผู้สูงอายุที่เข้ามาดำเนินการหลัก

                  ของศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุเทศบาลตำบลป่าแดด อันเป็นลักษณะเด่นของกระบวนการพัฒนาคุณภาพ
                  ชีวิตของผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุด้วยกันเอง

                               เริ่มดำเนินกระบวนการตั้งแต่ปี พ.ศ.59 จำนวน 79 คน ปี พ.ศ.2561 จำนวน 100 คน และ

                  ปี พ.ศ.61 จำนวน 153 คน ขยายในปี พ.ศ. 62 จำนวน 164 คน  (ครอบคลุมทุกชุมชน) ซึ่งทางเทศบาล
                  เริ่มจากสิ่งที่ “ผู้สูงอายุ” ต้องการ โดยการจัดเวทีระดมความคิดเห็นผู้สูงอายุเพื่อพัฒนากิจกรรมสำหรับ

                  ผู้สูงอายุ โดยมีประเด็นหลักสำคัญ ได้แก่

                               - เป้าหมาย “ผู้สูงวัยที่มีคุณค่า เยี่ยมกัน เอื้ออาทรต่อกัน”
                               - หลักสูตร “เน้นคิดจากฐานความต้องการของผู้สูงอายุ”

                               - กิจกรรม เน้น สร้าง วิถีชีวิตใหม่ให้กับ “ผู้สูงอายุ” โดยตั้งปณิธานร่วมกัน คือ “เราจึง

                  ไม่อยากเป็นผู้ป่วยติดเตียง”




                                                            271
   307   308   309   310   311   312   313   314   315   316   317