Page 313 - kpiebook62009
P. 313
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
กลไกการขับเคลื่อนการทำงานโครงการด้วยเครือข่าย
- กิจกรรม 8 เดือนต่อเนื่อง
- เป็นผู้ให้คำแนะนำโครงการ/ประสานงานกับผู้ที่มีความรู้เข้าร่วมเป็นวิทยากร
- ภาคีเครือข่ายเดินทางด้วย “ความต้องการของผู้สูงอายุเป็นสำคัญ ผ่าน กลุ่มผู้สูงอายุ
ตำบลป่าแดด”
- เครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วม นำโดย “ความเชี่ยวชาญเฉพาะวิชาชีพ”
- สนับสนุนเรียนรู้บนฐาน “ภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ” เช่น กลุ่มภูมิปัญญา ฯลฯ เน้น การดึง
ศักยภาพผู้สูงอายุ
3) โครงการพัฒนารูปแบบตำบลส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน
เริ่มจัดตั้งในปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบัน เป็น ศูนย์ประสานงานเด็กและเยาวชน-Centre Hub
(หมู่ที่ 8 บ้านปอกลาง) โดยกิจกรรมที่ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา มีการสำรวจคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน
ในตำบลป่าแดด ค้นพบปัญหาเด็กและเยาวชน เช่น ปัญหาเด็กติดเกมส์ เด็กในพื้นที่เป็นเด็กต่างชาติ ฯลฯ
จากนั้นรวมตัวกัน ที่จะทำกิจกรรม/โครงการ “พรบ.ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” จัดทำสื่อสร้างสรรค์,
กิจกรรม เสริมพลังพี่ เสริมพลังน้อง ภายใต้หลักคิด “เด็กคิด เด็กนำ เด็กทำ ผู้ใหญ่หนุน”
ปฏิบัติการเครือข่าย
- ทำงานกับเครือข่ายทางการศึกษา ได้แก่ กศน.
โรงเรียนป่าแดด มีกลุ่มเด็กต่างชาติ ประมาณ 60% จึงมีโครงการของเทศบาลเข้าไป
ร่วมกับโรงเรียน ตอนนี้เปิด อ.1-อ.2
โรงเรียนวัดวันสิงห์คำ มีกลไกขับเคลื่อนโดยสภานักเรียน ซึ่งความคิดเห็นต่างๆ จากการ
สังเกตการณ์ เป็นความคิดของเด็ก ที่อยากแก้ไขปัญหา เช่น การปิด-เปิดไฟหลังออกจากห้องเรียน เด็กมอง
เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม ประเด็นแม่น้ำแม่คา ร่วมไปถึงพฤติกรรมเด็กนักเรียนต่อการโต้แย้งและไม่พอใจ
เหล่านี้ส่งต่อไปยังสภาเด็กและเยาวชนตำบล
มูลนิธิฮักโปรเจ็ค ทำร่วมกับโรงเรียนในพื้นที่ตำบลป่าแดด
แนวทางการพัฒนาเด็กและเยาวชน
- การส่งเสริมการร่วมกลุ่มของเด็กและเยาวชน
- การป้องกัน แก้ไขและสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหา
กลไก
- สภาเด็กและเยาวชนตำบล เชื่อมกับ สภาเด็กในโรงเรียน
- ภาคีเครือข่าย เช่น สภานักเรียนในโรงเรียน บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่
มูลนิธิรักษ์ไทย คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฯลฯ
จุดเด่น
- การมีกิจกรรมของเด็กและเยาวชน ทำให้ ม.8 ไม่มีร้านเกมส์
272