Page 316 - kpiebook62009
P. 316
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
กระบวนการดำเนินการ
- สำรวจ รางวัด เพื่อกักพื้นที่อนุรักษ์ และวางแผนปฏิบัติการการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน
อย่างต่อเนื่องของ อปท.และชุมชนตลอดเหมืองฝาย ใน 8 ตำบล
- ขับเคลื่อน ด้วยการถอดองค์ความรู้ “ประวัติศาสตร์การจัดการน้ำเมืองฝายพญาคำ”
เครือข่ายขับเคลื่อน
- การบริหารจัดการน้ำ ด้วยเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์และภูมิปัญญา; การบริหารจัดการน้ำ
(ปันน้ำ) ต้องทำงานเชิงเครือข่ายตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
- เชื่อมเครือข่าย “ด้วยจิตวิญญาณ ความเชื่อที่มีต่อเหมืองฝายพญาคำ”
- เชื่อมเครือข่ายด้วยประโยชน์ที่ได้รับร่วมกัน เชื่อมกับ ระบบการจัดการน้ำเชิงวิถี
(วัฒนธรรมการบริหารจัดการตามแบบฉบับคนล้านนา)
ปัจจัยการขับเคลื่อน
1) แก่ฝาย ต้องมีความเมตตา มีคุณธรรม มีความเป็นธรรม
2) มีเวทีพูดคุยทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ พูดคุยกันได้อย่างไม่เป็นทางการ
3) เครือข่ายมีการพบปะพูดคุยกันต่อเนื่อง: ชลประทานต้องมีความไว้ใจกลุ่มผู้ใช้น้ำ โดย
ชลประทานมีหน้าที่ในการบริหารจัดการน้ำ ที่ต้องมีการแบ่งรอบเวรก่อน เช่น การเปิด-ปิดหน้าบาน ทั้งนี้
กลุ่มผู้ใช้น้ำต้องมีความเข้มแข็ง และมีความเข้าใจในสถานการณ์ ซึ่งกรมเจ้าท่า มอบอำนาจในการใช้พื้นที่
เหมืองฝายเป็นแหล่งเรียนรู้
4) เดิม เป็นการบริหารจัดการโดยแก่ฝาย (ชมภู เป็นท้ายน้ำ) การใช้น้ำต้องทำตั้งแต่ต้นน้ำ
กลางน้ำ ปลายน้ำ ซึ่งการทำงานกับทุก อปท. ทุกพื้นที่ที่อยู่บนเหมืองต้องร่วมรับผิดชอบ การสร้าง
ความตระหนักรู้เป็นเรื่องยาก ซึ่ง ทต.ชมภู เชื่อมเครือข่ายทั้ง 8 ตำบล ฉะนั้น การถอดบทเรียนเกี่ยวกับ
“เหมืองฝายพญาคำ” จึงเป็นเรื่องที่นำไปสู่การตระหนักรู้ร่วมกัน และถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นหลัง เครือข่ายจึง
เป็นนวัตกรรมที่ทำให้ทุกคนเห็นค่าร่วมกัน ที่จะให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
ผลการดำเนินการ
เหมืองฝายเป็นภูมิปัญญาในการจัดการน้ำสําหรับการเกษตรของชุมชนในภาคเหนือตอนบน
ด้วยสภาพทางภูมิประเทศเป็นพื้นที่ต้นน้ำลําธารขนาดใหญ่ของประเทศไทยที่ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาสูง
ที่ดอนเชิงเขามากถึงสามส่วนของพื้นที่ มีที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขาเพียงหนึ่งส่วนของพื้นที่ การ บุกเบิกพื้นที่
สำหรับทำนาทำได้ในพื้นที่ราบในหุบเขา ที่นาจึงมีสภาพลดหลั่นเป็นชั้นๆ มิได้เรียบเสมอ กัน ดังนั้นใน
การดึงน้ำเข้าสู่ที่นาจึงมีการคิดค้นการสร้างฝายกั้นลําน้ำในตําแหน่งที่สูงกว่าแปลงนา แล้ว ขุดลําเหมืองจาก
หน้าฝายให้น้ำไหลเข้าสู่ที่นา เพื่อให้ทุกคนมีน้ำสําหรับทำนาเพียงพออย่างเป็นธรรม เสมอกัน โดยมีองค์กร
เหมืองฝายที่มีบทบาทในการจัดการ ตามข้อตกลงเหมืองฝายที่สมาชิกผู้ใช้น้ำได้ กําหนดร่วมกันใน
ภาคเหนือตอนบนมีเหมืองฝายจํานวนถึง 4,000 กว่าแห่ง ซึ่งมีการสืบสานภูมิ ปัญญามาอย่างต่อเนื่อง
จนเป็นวิถีวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาในการจัดการน้ำของชุมชน ที่ยังคงยึดถือและปฏิบัติสืบ
275