Page 78 - kpiebook62005
P. 78
นอกจากนี้แล้ว ในบางประเทศอย่าง เช่น สหราชอาณาจักร จะมีข้อก าหนดเพิ่มเติมว่า หน่วยงานราชการ
จะต้องแสดงค่าใช้จ่ายในการร้องขอข้อมูลในเว็บไซต์และในที่ที่ผู้ร้องขอข้อมูลสามารถรับทราบก่อนที่จะด าา
เนินการขอข้อมูล มิฉะนั้นแล้วหน่วยงานดังกล่าวจะไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ ได้
5) เจ้าหน้าที่ต้องให้ความช่วยเหลือและอ านวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ร้องขอข้อมูล เช่น หากมีการ
ร้องขอข้อมูลจากหน่วยงานที่ไม่ถูกต้อง หน่วยงานดังกล่าวควรที่จะโอนค าร้องดังกล่าวไปยังศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ของราชการของหน่วยงานที่มีข้อมูลนั้น ๆ เพื่อที่ผู้ยื่นขอจะไม่ต้องยื่นซ้ า เป็นต้น
การศึกษากฎหมายว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในต่างประเทศพบว่า กฎหมายดังกล่าวล้วนมี
กระบวนการที่ก าหนดให้หน่วยงานราชการต้องด าเนินการต่อค าร้องขอข้อมูลที่เป็นไปตามขั้นตอนมาตรฐานที่
ก าหนดไว้ในกฎหมาย และยังมีข้อก าหนดให้หน่วยงานราชการทุกแห่งจะต้องมีหน้าเว็บเพจ (Web page)
เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารซึ่งประชาชนสามารถกดเลือกเข้าไปดูรายละเอียดได้ โดยรายละเอียดที่ต้อง
ปรากฏอยู่ในเว็บเพจดังกล่าวขั้นต่ าจะต้องมีการจัดท าดัชนีรายชื่อข้อมูลที่อยู่ในครอบครองของตนในลักษณะที่
เข้าใจง่ายและมีการแจ้งให้ประชาชนทราบว่า ข้อมูลใดประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยอัตโนมัติและข้อมูลใด
ต้องร้องขอในเว็บไซต์ของหน่วยงานด้วยในกรณีของข้อมูลที่ต้องร้องขอต่อหน่วยงานราชการนั้น จะต้องระบุชื่อ
ของผู้รับผิดชอบในการให้ข้อมูลดังกล่าวด้วยเพื่ออ านวยความสะดวกให้แก่ผู้ร้องขออีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการ
อ านวยความสะดวกให้แก่หน่วยงานราชการในการปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมาย คณะกรรมการข้อมูล
ข่าวสารของต่างประเทศมักก าหนดรูปแบบของการเปิดเผยข้อมูลขั้นต่ าที่เป็นมาตรฐานกลาง
6) การปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลต้องมีเหตุผลที่เพียงพอ หน่วยงานที่ได้รับการเรียกร้อง ให้เปิดเผย
ข้อมูลจะปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลได้ก็ต่อเมื่อหน่วยงานดังกล่าวสามารถที่จะแสดงเหตุผลอย่างชัดแจ้งว่าการ
เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเสียหายที่เป็นรูปธรรม (demonstrable) เช่น ข้อมูลที่มีลักษณะเป็น
ข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลที่การเปิดเผยจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศเท่านั้น ทั้งนี้ ลักษณะหรือ
ประเภทของข้อมูลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเปิดเผยเหล่านี้จะต้องระบุไว้อย่างเจาะจงและชัดเจนในกฎหมาย
การประเมินกฎหมายว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ6เพื่อที่จะป้องกันมิให้หน่วยงาน
ราชการอ้างข้อยกเว้นดังกล่าวในการปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ จ าเป็นตามที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้ว แต่ที่
ส าคัญ คือ การปฏิเสธข้อมูลทุกครั้งจะต้องมีการประเมินผลได้ผลเสียที่เรียกว่า “Prejudice Test” หรือ
“Harm Test” ซึ่งในกรณีที่ผลประโยชน์ที่สาธารณชนจะได้รับจากการเปิดเผยข้อมูลนั้นมากกว่าผลเสียของ
การเปิดเผยข้อมูลนั้น หน่วยงานราชการนั้น ๆ จะต้องเปิดเผยข้อมูลตามที่มีการร้องขอ ยกตัวอย่างเช่น กรณี
6 ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ นายธิปไตร แสละวงศ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การ
เข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐ และการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทย” สิงหาคม 2557
-51-