Page 76 - kpiebook62005
P. 76
4. ตัวชี้วัดในการประเมินการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารด้าน
สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
4.1 การศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีและหลักการการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภาครัฐ
4.1.1 หลักบัญญัติ 10 ประการของสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐ
หลักบัญญัติ 10 ประการของสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐ (Ten Principles on the
1
Right to Know)” ก าหนดขึ้นโดยสถาบันริเริ่มน าความยุติธรรมสู่สังคมเปิด (Open Society Justice
2
Initiative) เพื่อเฉลิมฉลองวันครบรอบ 3 ปีในวันสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสากล (International Right
to Know Day) ในเดือนกันยายนปี พ.ศ. 25483 หลักการดังกล่าวประมวลจากการศึกษาวิเคราะห์กฎหมาย
ข้อมูลข่าวสารและการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญใน 68 ประเทศที่มีกฎหมายนี้ โดยมีหลักการ
ดังต่อไปนี้
1) บุคคลทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่จ ากัดเชื้อชาติ อาชีพ
หรือศาสนา
2) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเป็นหลักการปฏิบัติทั่วไป การปกปิดข้อมูลเป็นเพียงข้อยกเว้นเท่านั้น
พบว่า หลายประเทศอย่างเช่นสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และนิวซีแลนด์ ก าหนดให้การปฏิเสธในการ
เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้กฎหมายใด ๆ ก็ตาม จะต้องด าเนินการตามเงื่อนไขที่
ระบุไว้ในกฎหมายแม่บทว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร หรือ FOIA ซึ่งจะต้องมีการประเมินผลประโยชน์
3) ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐที่ใช้เงินงบประมาณทุกแห่ง
รวมถึงหน่วยงานเอกชนที่ปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐ
1 เรียกดูเอกสารได้ที่เว็บไซต์ของ the Organization of American State (OAS):
http://www.oas.org/dil/access_to_information_human_Policy_Recommendations_10_Principles_on_the_Ri
ght_to_ Know.pdf
2 เรียกดูข้อมูลขององค์กรได้ที่: http://www.opensocietyfoundations.org/about/programs/open-society-justice-
initiative
3 เรียกดูข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของ the Global Network of Freedom of Information Advocates:
http://www.freedominfo.org/2005/09/international-right-to-know-day-2005
-49-