Page 77 - kpiebook62005
P. 77

การศึกษากฎหมายว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารราชการในประเทศที่พัฒนาแล้ว  พบว่าส่วนมากมีกฎหมาย

               ว่าด้วยการเข้าถึงหรือสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ4 การประเมินกฎหมายว่าด้วยการ

               เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ ที่เรียกว่า Freedom of Information Act (FOIA) เช่น สหรัฐอเมริกา

               ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และประเทศยุโรปตะวันออกหลายประเทศ เป็นต้น บางประเทศใช้ค าว่า

               Access to Information Act อย่างเช่น ในแคนาดาและยังปรากฏไม่กี่ประเทศที่ยังคงใช้ค าว่า “ข้อมูลข่าวสาร

               ของราชการ (Official Information)”เหมือนประเทศไทย เช่น นิวซีแลนด์ เป็นต้น นอกจากนี้ กฎหมาย

               ดังกล่าวของหลายประเทศครอบคลุมข้อมูลไม่เพียงแต่ของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจเท่านั้น หากแต่ยัง

               รวมถึงข้อมูลในการครอบครององค์กรเอกชนที่ ใช้อ านาจมหาชนด้วย เช่น ตลาดหลักทรัพย์ หรือสมาคมธุรกิจ


               ใด ๆ ที่มีอ านาจในการออกกฎหรือ กติกาในการก ากับดูแล เป็นต้น  ในขณะที่บางประเทศอย่าง เช่น สหราช

               อาณาจักรนั้น  ส านักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร (The Information Commissioner’s Office : ICO)

               มีอ านาจในการบังคับใช้กฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวกับการเข้าถึงหรือการปกปิดข้อมูลทั้งของราชการ และ

               ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น Privacy Law  Data Protection Law  Environment Information Disclosure Law

               และ FOIA เป็นต้น

                       4) การยื่นขอเอกสารข้อมูลข่าวสารต้องง่าย (simple) เร็ว (speedy) และไม่มีค่าใช้จ่าย (free)

               การยื่นเรื่องเพื่อขอให้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ง่าย หมายถึง เอกสารที่ผู้ขอจะต้องยื่น ได้แก่ ชื่อและที่อยู่

               ของผู้ขอกับรายละเอียดของข้อมูลข่าวสารที่ขอเท่านั้น การขออาจท าในรูปแบบของเอกสารหรือด้วยวาจาก็ได้

               กระบวนการในการเปิดเผยข้อมูลต้องรวดเร็วและค่าใช้จ่ายในการขอให้เปิดเผยข้อมูลและการได้รับข้อมูล

               จะต้องไม่มากไปกว่าค่าใช้จ่ายในการท าส าเนาเอกสารที่ต้องการตามต้นทุนที่แท้จริงเท่านั้น

                                                                                                5
                       การศึกษาการเก็บค่าใช้จ่ายในการร้องขอข้อมูลจากหน่วยงานราชการในต่างประเทศ พบว่าโดย
               ส่วนมากแล้วกฎหมายว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของต่างประเทศจะอนุญาตให้หน่วยงานของรัฐเรียกเก็บ

               ค่าใช้จ่ายส าหรับการถ่ายเอกสารเท่านั้น และอาจมีการเรียกเก็บค่าบริการไปรษณีย์ และ ค่าหีบห่อในกรณีที่ผู้

               ร้องขอเอกสารไม่มารับเอกสารด้วยตนเองและไม่สามารถส่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตได้ และอาจเรียกเก็บ

               ค่าลิขสิทธิ์ส าหรับกรณีที่ข้อมูลที่ร้องขอเป็นเอกสารที่มีลิขสิทธิ์เท่านั้น แต่ไม่พบว่ามีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใน


               การรับรองเอกสาร เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารในประเทศที่พัฒนาแล้วมองว่า การให้
               ข้อมูลแก่ประชาชนนั้นเป็น “หน้าที่” มิใช่ “ภาระ” ของหน่วยงานราชการตามที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว





               4  เรียกดูข้อมูลได้ที่: http://uscode.house.gov/browse/prelim@title5&edition=prelim

               5  ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ นายธิปไตร แสละวงศ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “การ
               เข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐ และการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทย” สิงหาคม 2557


                                                           -50-
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82