Page 193 - b30427_Fulltext
P. 193

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           4.2 บทวิเคราะห์เปรียบเทียบ


                 จากการศึกษากฎหมายการกีฬาของประเทศไทยและศึกษากฎหมายการกีฬา
           ของต่างประเทศทั้ง 3 ประเทศ คือ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นนั้น มีข้อควร

           เปรียบเทียบที่สำคัญ 4 ประการ คือ ระบบการเมืองการปกครอง ระบบกฎหมาย
           กฎหมายกีฬา และการระงับข้อพิพาททางกีฬา


                 4.2.1 ระบบการเมืองการปกครอง

                     จากการศึกษาระบบการเมืองการปกครองของประเทศอังกฤษ ประเทศ
           สหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย พบว่า ประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่น

           และประเทศไทย มีระบบการเมืองการปกครองที่เหมือนกันในแง่ของการมีพระมหากษัตริย์
           เป็นประมุขของรัฐ มีรูปของรัฐที่เป็นรัฐเดี่ยว เช่นเดียวกัน โดยสิ่งที่เหมือนกันทั้ง
           4 ประเทศ คือ มีระบบการเมืองเป็นแบบรัฐสภาเช่นเดียวกัน ส่วนสหรัฐอเมริกา

           มีส่วนที่แตกต่างกันคือ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ มีรูปของรัฐเป็นรัฐรวม
           ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ ดังนั้นทำให้การออกฎหมายที่เกี่ยวกับการกีฬาของประเทศ
           สหรัฐอเมริกาจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละรัฐ เนื่องจากเรื่องของการกีฬาแต่ละ

           รัฐมีอำนาจในการบริหาร อำนาจออกกฎหมายและอำนาจตัดสินคดีความ ได้เท่าที่
           ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ แต่อีก 3 ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่น
           และประเทศไทย ด้วยความเป็นรัฐเดี่ยว ทำให้อำนาจต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการกีฬามักจะ
           เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้กฎหมายเดียวกัน


                 4.2.2 ระบบกฎหมาย


                     จากการศึกษาระบบกฎหมายของประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา
           ญี่ปุ่น และประเทศไทย พบว่า ประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ระบบ
           กฎหมายแบบคอมมอน ลอว์ (Common Law) โดยในการพิจารณาคดี ในระบบ
           คอมมอน ลอว์ แต่เดิมจะไม่มีการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อศาลใช้

           จารีตประเพณีในการพิพากษาตัดสินคดีแล้ว ก็จะมีการบันทึกคำพิพากษานั้นเอาไว้
           เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีต่อ ๆ ไป หากข้อเท็จจริงในคดีต่อ ๆ
           มาเหมือนกับคดีก่อน ศาลก็จะพิพากษาไปตามที่ได้มีการบันทึกไว้แล้ว ถือได้ว่า

           คำพิพากษาของศาลก็คือกฎหมายนั่นเอง ส่วนประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทยใช้ระบบ
           กฎหมายแบบ ซีวิล ลอว์ (Civil Law) หรือระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร


                                             1 2
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198