Page 189 - b30427_Fulltext
P. 189
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
เข้ามาจัดการแข่งขันกีฬาหรือผู้มีจะเข้ามาเป็นนักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน ฯลฯ
ก็จะต้องมีความรู้และมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะดำเนินกิจกรรมการแข่งขันกีฬาหรือ
ประกอบอาชีพในวงการกีฬา รวมทั้งมีความรู้และมีคุณสมบัติที่จะสามารถขอรับ
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นเอกสารสำคัญแสดงว่าเป็นบุคลากรทางการกีฬา
ที่มีความรู้ความสามารถเพียงพอและมีความพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมในวงการกีฬาได้
ในทำนองเดียวกันองค์การบริหารจัดการทางการกีฬาของประเทศไทย
มีบทบาทสำคัญ ในการวางมาตรฐาน (Standardisation) การแข่งขันกีฬาและ
การประกอบกิจกรรมด้านกีฬา ด้วยการนำเอากฎเกณฑ์นานาชาติที่มีอยู่แล้วหรือ
พัฒนากฎเกณฑ์ระดับชาติขึ้นมาใหม่ เพื่อการพิจารณาความรู้และคุณสมบัติของ
ผู้จัดการแข่งขันกีฬาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงการกีฬาอื่น ๆ ให้เพียงพอที่จะดำเนิน
กิจกรรมการแข่งขันกีฬาหรือประกอบอาชีพในวงการกีฬาอย่างมีระเบียบแบบแผน
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านการจัดทำบริการสาธารณะทางด้านกีฬาและดำเนินการ
ให้เป็นไปตามหลักการ Fair Play ในวงการกีฬา
องค์การบริหารจัดการทางการกีฬาของประเทศไทยจะได้นำหลักเกณฑ์
มาตรฐานทางกีฬาระหว่างประเทศบางอย่างที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการกีฬาสากล
และเป็นที่ยอมรับทั่วไปในแวดวงกีฬาระหว่างประเทศ มาบรรจุเอาไว้ในกฎหมายเพื่อใช้
เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้เป็นแนวทางพื้นฐานในการสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรมหรือ
Fair Play เพื่อให้ผู้คนในแวดวงกีฬาของประเทศไทยเคารพและปฏิบัติตาม โดยไม่ถูก
เอารัดเอาเปรียบจากนักกีฬาที่ขาดจริยธรรม และไร้จรรยาบรรณของความเป็นนักกีฬา
เมื่อเอาเกณฑ์มาตรฐานทางการกีฬาระหว่างประเทศมาบรรจุเอาไว้เป็นหลักการภายใต้
กฎหมายระดับชาติแล้ว ย่อมทำให้เกณฑ์มาตรฐานทางการกีฬามีสภาพบังคับ
ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา และองค์กรกำกับกีฬาจะต้องเรียนรู้และปฏิบัติตาม
อย่างเคร่งครัด องค์การบริหารจัดการทางการกีฬาของประเทศไทยได้นำเอา
หลักเกณฑ์มาตรฐานทางการกีฬาระหว่างประเทศมาพัฒนามาตรฐานสำหรับการเป็น
นักกีฬาหรือการแข่งขันกีฬาให้ไปสู่ระดับสากล เหตุนี้เองจึงได้มีการบัญญัติกฎหมาย
กีฬาบางฉบับ ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา
พ.ศ. 2555 ที่บัญญัติขึ้นโดยอาศัยเกณฑ์มาตรฐานสากลที่องค์กรต่อต้านการใช้
สารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Agency หรือ WADA) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน
ที่องค์กรกีฬานานาชาติยอมรับในมาตรการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา
1
สถาบันพระปกเกล้า