Page 195 - b30427_Fulltext
P. 195

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           ที่เกี่ยวข้อง 3) กฎหมายคุ้มครองนักกีฬาในหลากลักษณะ โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง
           ความปลอดภัย ประเด็นการล่วงละเมิดทางเพศ และประเด็นอื่นว่าด้วยผู้ที่มีส่วน

           เกี่ยวข้องกับนักกีฬา อาทิ ตัวแทนนักกีฬา ผู้ดูแลสุขภาพนักกีฬา 4) กฎหมายอื่น
           เช่น กฎหมายห้ามเล่นการพนันกีฬาทุกชนิดผ่านทุกช่องทาง

                     ส่วนของประเทศญี่ปุ่น มีกฎหมายที่เกี่ยวกับกีฬา 2 ประเด็นคือ

           1) กฎหมายพื้นฐานว่าด้วยกีฬา โดยมีการกำหนดหลักการทางการกีฬา เช่น
           การกำหนดให้องค์กรกีฬาต่าง ๆ ต้องปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของนักกีฬา
           ต้องรับรองความโปร่งใสในการบริหารจัดการ และต้องพยายามแก้ไขข้อพิพาททาง

           การกีฬาอย่างรวดเร็วและเหมาะสม เป็นต้น รวมถึงกำหนดแผนพื้นฐานการกีฬา
           ของชาติ โดยมี 3 มาตรการที่สำคัญคือ การพัฒนาปัจจัยแวดล้อมพื้นฐาน
           ในการส่งเสริมการกีฬา การพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างโอกาสที่หลากหลาย

           ในการเล่นกีฬา และการปรับปรุงในระดับการแข่งขันกีฬา 2) กฎหมายเกี่ยวกับ
           เงินอุดหนุนการกีฬาจากการจัดสรรเงินรายได้จาการขายสลากกินแบ่งส่งเสริมกีฬา
           เป็นต้น


                     ส่วนของประเทศไทย มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการกีฬา 2 ประเด็นคือ
           1) กฎหมายกีฬาในลักษณะที่เป็นกฎเกณฑ์แบบเป็นทางการอย่างเป็นระเบียบ
           แบบแผนและใช้บังคับความประพฤติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาหรือธุรกิจ

           อุตสาหกรรมกีฬา เช่น พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติควบคุม
           การใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 และพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ
           พ.ศ. 2556 หากฝ่าฝืนกฎหมายเช่นว่านี้ ผู้กระทำการอันฝ่าฝืนต่อกฎหมายอาจถูก

           ลงโทษ (โทษทางอาญาหรือโทษทางปกครอง) 2) กฎหมายให้อำนาจองค์กรกำกับกีฬา
           ที่เป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนในฐานะที่เป็น
           ฝ่ายปกครองเพื่อให้อำนาจจัดทำการบริการสาธารณะด้านกิจการกีฬาและกำกับดูแล

           ในการบริหารการกีฬาในประเทศไทย เช่น พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย
           พ.ศ. 2558


                 4.2.4 การระงับข้อพิพาททางกีฬา

                     จากการศึกษาการระงับข้อพิพาทของประเทศอังกฤษ ประเทศ
           สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศไทย พบว่า ข้อพิพาททางการกีฬา มักจะมีลักษณะ




                                             1
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200