Page 71 - kpib28626
P. 71

ภายใต้บริบทสังคมเมืองที่ก�าลังขยายตัว และเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมและบริบท
                  ของพื้นที่นั้น ๆ ทั้งนี้ เทศบาลเมืองแม่เหียะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเปิดโอกาส
                  ให้ภาคประชาสังคมจ�านวนมากถึง 28 กลุ่ม/องค์กร อาทิ ชมรมก�านัน-ผู้ใหญ่บ้าน ชมรมผู้สูง

                  อายุ ชมรมกีฬาต�าบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจ�าหมู่บ้าน อาสาสมัครต�ารวจบ้าน
                  คณะกรรมการพ่อค้าแม่ค้า คณะกรรมการรถสี่ล้อแดง คณะกรรมการพัฒนาสตรี กลุ่ม

                  เกษตรกร สภาเด็กและเยาวชน และองค์กรศาสนา เป็นต้น เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร
                  งานและด�าเนินงานโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ของเทศบาล ซึ่งภาคประชาสังคมดังกล่าวสามารถ
                  เข้ามามีส่วนร่วมทั้งร่วมรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมให้ค�าปรึกษาหารือ

                  รวมถึงการตัดสินใจและรับผลประโยชน์ร่วมกัน ดังนี้

                         การร่วมรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของเทศบาล
      ตัวอย่าง บริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                  ได้จากหลากหลายช่องทาง ทั้งเสียงตามสายหมู่บ้าน กลุ่มไลน์หมู่บ้าน เฟซบุ๊กของเทศบาล
                  เว็บไซต์ของเทศบาล บอร์ดประชาสัมพันธ์ภายในเทศบาลและชุมชน และการประชุมประจ�า
                  เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทศบาลได้ท�าการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ/กิจกรรมและ

                  ผลการด�าเนินงานในรูปแบบคลิปวีดีโอและเผยแพร่ทางกลุ่มไลน์หมู่บ้าน เฟซบุ๊กของเทศบาล
                  และเว็บไซต์ของเทศบาล เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงทั้งนี้การเผยแพร่

                  ข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่าง ๆ เป็นวิธีการที่ท�าให้ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น
                  และท�าให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์

                         การแสดงความคิดเห็น ประชาชนสามารถบอกกล่าวถึงปัญหาและความต้องการ

                  ของตน พร้อมทั้งพูดคุยแสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะต่อการด�าเนินโครงการ/กิจกรรม
                  ของเทศบาลในการประชุมประจ�าเดือนรวมทั้งสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็นเพื่อจัดท�า
                  แผนชุมชนและแผนพัฒนาท้องถิ่นในการประชุมประชาคมระดับชุมชนและระดับต�าบล


                         การร่วมให้ค�าปรึกษาหารือ ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ค�าปรึกษาหารือแก่เทศบาล
                  เกี่ยวกับโครงการ/กิจกรรมที่ส่งผลต่อสังคมในวงกว้าง อาทิ เทศบาลจัดการประชุมเพื่อปรึกษา
                  หารือและท�าประชาพิจารณ์เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน�้า เป็นต้น


                         การร่วมตัดสินใจและรับผลประโยชน์ ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดท�าแผน
                  งบประมาณรายจ่ายประจ�าปีโดยมีส่วนเป็นผู้ตัดสินใจคัดเลือกโครงการ/กิจกรรมที่บรรจุ
                  ในแผนพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งโครงการดังกล่าวจะถูกน�ามาบรรจุในเทศบัญญัติงบประมาณราย

                  จ่ายประจ�าปี เมื่อเทศบาลบริหารงบประมาณที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของ
                  ประชาชนแล้ว ประชาชนย่อมได้รับผลประโยชน์เพราะได้รับการแก้ปัญหาการพัฒนาที่ตรงจุด





                                                       หน้า 70
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76