Page 72 - kpib28626
P. 72
“ส�ำหรับโครงกำรหรือกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงควำมเป็นเลิศเน้นด้ำนควำมโปร่งใส
และส่งเสริมกำรมีส่วนร่วมของประชำชน” (กองวิชาการและแผนงาน, 2560: 3-52)
เห็นได้จาก “โครงการดอยค�า ลานสุข น�าสุข” กล่าวคือ วัดพระธาตุดอยค�าอยู่ในเขต
พื้นที่เทศบาลเมืองแม่เหียะได้รับแรงศรัทธาจากประชาชน ส่งผลให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
ต่างเดินทางเข้ามาในพื้นที่เป็นจ�านวนมากโดยเฉลี่ย 3 พันคนต่อวันในช่วงเทศกาล ร้านค้า
ดอกมะลิ 100 ร้าน ต่างเข้ามาจับจองพื้นที่ริมถนนตลอดเส้นทางขึ้นไปยังวัดพระธาตุดอยค�า
ท�าให้เกิดปัญหาการจราจร อุบัติเหตุบนท้องถนน เกิดการทะเลาะวิวาทกันของพ่อค้าแม่ค้า
และความสกปรกไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่ประกอบกับด้วยลักษณะเส้นทางที่ลาดชัน
อันตรายและบริเวณวัดมีสถานที่จอดรถไม่เพียงพอ จึงท�าให้ผู้ที่มาวัดพระธาตุดอยค�าไม่ได้รับ
ความสะดวกและเกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ที่ผ่านมาเทศบาลเริ่มต้นสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม
ของประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือกันหลายครั้ง
ระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพปุย ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่วัดพระธาตุ
ดอยค�า ทางหลวงชนบท ต�ารวจจราจร พ่อค้าแม่ค้า และคนขับรถสี่ล้อแดง ซึ่งได้ท�าข้อตกลง
ร่วมกันว่าห้ามไม่ให้มีการจ�าหน่ายสินค้าริมถนน และให้เทศบาลจัดให้มีพื้นที่จ�าหน่ายสินค้า
ลานจอดรถ และคิวรถสี่ล้อแดงรับส่ง ณ บริเวณเชิงวัดพระธาตุดอยค�า โดยเทศบาลเป็น ตัวอย่าง บริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ผู้ปรับปรุงพื้นที่ และดูแลรักษาความสะอาด ในระยะแรกพ่อค้าแม่ค้าไม่ให้ความร่วมมือเพราะ
กังวลว่าจะขายไม่ได้ เทศบาลจึงจัดประชุมพูดคุยระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอีกหลายครั้ง กระทั่ง
เกิดสัญญาประชาคมร่วมกันโดยให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการพื้นที่ หรือ
เรียกว่า คณะกรรมการเชิงพระธาตุดอยค�า โดยคณะกรรมการคัดเลือกมาจากพ่อค้าแม่ค้า
และคนขับรถสี่ล้อแดง และให้เทศบาลเป็นที่ปรึกษา คณะกรรมการได้จัดท�าข้อบังคับหรือ
กฎระเบียบในการบริหารจัดการพื้นที่ จัดตั้งชมรมพ่อค้าแม่ค้าเพื่อก�าหนดราคาดอกมะลิ
ให้เท่ากัน จัดตั้งกองทุนโดยระดมทุนจากสมาชิกในกลุ่มรายเดือนเพื่อดูแลรักษาพื้นที่ และ
จัดตั้งชมรมรถสี่ล้อแดงเพื่อจัดระบบการรับส่งและควบคุมราคาเพื่อบริการและอ�านวย
ความสะดวกให้แก่ผู้มาสักการะ
การสร้างศูนย์บริการประชาชนและนักท่องเที่ยว เกิดจากความคิดของชมรมพ่อค้า
แม่ค้าและชมรมรถสี่ล้อแดง ที่ต้องการอ�านวยความสะดวก จัดระเบียบ และเพิ่มความปลอดภัย
ให้แก่ผู้มาสักการะ โดยได้มีการปรึกษาหารือร่วมกับคณะกรรมการเชิงพระธาตุดอยค�า
เทศบาลเมืองแม่เหียะ ชมรมก�านัน-ผู้ใหญ่บ้าน และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ ต�ารวจจราจร
หน้า 71