Page 91 - kpi8470
P. 91
ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและความเป็นไปได้
8
และพลังงาน ได้จัดกิจกรรมรณรงค์การคัดแยกขยะอินทรีย์ ซึ่งมีปริมาณมากถึงร้อยละ 60
ของประมาณขยะทั้งหมด ซึ่งการคัดแยกขยะนี้จะส่งผลให้สามารถลดปริมาณขยะจากแหล่ง
กำเนิดต้นทาง เช่น ครัวเรือน และร้านค้า ตลอดจนสร้างจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน และสถานประกอบการในพื้นที่ โดยการประชาสัมพันธ์การณรงค์ให้ประชาชนคิด
แยกประเภทขยะ แจกถังขยะอินทรีย์ประจำครัวเรือน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้า
ร่วมโครงการจะต้องปรับปรุงระบบการจัดเก็บขยะ โดยทำการเก็บขนตามประเภทขยะที่ผ่าน
การคัดแยก จากนั้นจะดำเนินการประเมินพฤติกรรมการแยกขยะของประชาชน สรุปผลการ
ดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะผู้บริหารให้ทราบต่อไป ผลที่ได้รับ คือ
ประชาชนมีความร่วมมือในการคัดแยกขยะโดยเฉพาะขยะอินทรีย์ และปริมาณขยะในพื้นที่
ของเทศบาลตำบลเชิงทะเล และเทศบาลตำบลเทพกษัตรีมีปริมาณลดลง
4. โครงการปรับปรุงระบบการเก็บขนและแยกเก็บขยะอินทรีย์
ในปี 2548 มีการปรับปรุงระบบการจัดการขยะของท้องถิ่น โดยมีองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นที่อาสาเข้าร่วมโครงการ 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลเชิงทะเล และเทศบาลตำบล
เทพกษัตรีย์ ซึ่งใช้โครงการนำร่อง คือ “การปรับปรุงระบบการเก็บขนและแยกเก็บขยะ
อินทรีย์” โดยการจัดเก็บขยะทุกวันตามเวลาที่กำหนด เช่น
❑ เทศบาลตำบลเชิงทะเลจัดเก็บขยะทุกวัน ในเวลา 17.00 น. และยังมีการใช้ถังรองรับ
ขยะที่ถูกต้อง แยกขยะตามประเภทของการกำจัดเพื่อให้สอดคล้องกับการกำจัดขยะ
แบบเตาเผา
❑ เทศบาลตำบลเทพกษัตรีย์ จัดเก็บขยะทุกวัน ในเวลา 18.00 น. และยังมีโครงการจัด
ตลาดนัดรีไซเคิล ขยะพิษนำมาแลกแต้มในทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน
5. โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากขยะอินทรีย์
ภายหลังจากโครงการคัดแยกขยะจากต้นทางได้รับการตอบรับที่ดีนั้น ขยะที่คัดแยก
ได้ส่วนหนึ่งจะนำมาหมักเพื่อทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ และทำนำหมักจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการล้าง
สถาบันพระปกเกล้า