Page 93 - kpi8470
P. 93
ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและความเป็นไปได้
87
ประชาชนมีส่วนร่วม และโครงการสาธิต การแปรรูปขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ยอินทรีย์ และมีการ
ก่อสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์เทพกระษัตรี ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ได้สนับสนุน
งบประมาณก่อสร้าง 2.5 ล้านบาท
โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์แห่งนี้ จะผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่เป็นปุ๋ยหมักได้วันละ 2 ตัน และ
น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ วันละ 200 ลิตร โดยทางเทศบาลเทพกระกษัตรี ทำหน้าที่ในการจัด
เก็บขยะอินทรีย์ที่เป็นเศษอาหารจากบ้านเรือนประชาชน ในเขตพื้นที่เทศบาลเทพกษัตรีและ
บ้านบ่อกรวด รวมทั้งเศษผัก ผลไม้ จากตลาดสดบ้านเคียน วันละ 500-600 กก. มาเข้าสู่
โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สามารถที่จะลดปริมาณขยะอินทรีย์ ในส่วนของเทศบาลตำบล
เทพกระษัตรีที่จะเข้าสู่เตาเผาขยะของเทศบาลนครภูเก็ตได้ถึง 10%
ทั้งนี้ เพราะในแต่ละวันในเขตตำบลเทพกระษัตรีจะมีปริมาณขยะทั้งสิ้นวันละ 5,000
กก. และสิ่งสำคัญการเกิดขึ้นของโรงงานเตาเผาขยะแห่งนี้เกิดขึ้นได้ เพราะความร่วมมือ
ของประชาชนในชุมชนในการคัดแยกขยะระหว่างขยะเปียกและขยะแห้ง
ทั้งนี้ หากปล่อยให้ปริมาณขยะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อาจจะทำให้ภูเก็ต ประสบปัญหา
วิกฤตขยะล้นเมืองได้ในอนาคต องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตได้เล็งเห็น ความสำคัญของ
ปัญหาดังกล่าว จึงได้ริ่เริ่มโครงการปรับปรุงระบบการจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดภูเก็ต ที่
อาศัยหลักการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยจากต้นทาง โดยได้มอบหมายให้มูลนิธิฯ เป็นผู้รับ
ผิดชอบ ดำเนินการในพื้นที่นำร่อง 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี และเทศบาลตำบล
เชิงทะเล
ภายใต้โครงการปรับปรุงระบบการจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดภูเก็ต ได้จัดกิจกรรม
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย และโครงการสาธิต การแปรรูปขยะ
อินทรีย์เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งถือเป็นโครงการที่สำคัญ ที่จะแสดงให้เห็นถึง ประโยชน์ของการคัด
แยกขยะอินทรีย์จากต้นทางนำมาแปรรูป เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสม สำหรับภาคการเกษตร
และยังจะเป็นการลดปริมาณขยะอินทรีย์ ถูกคัดแยก ออกจากขยะมูลฝอยอื่นๆ ที่ต้องกำจัด
โดยการเผา และโครงการดังกล่าวนำมาสู่การก่อสร้าง โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์เทพกระษัตรีที่
เห็นเป็นรูปธรรม
สถาบันพระปกเกล้า