Page 88 - kpi8470
P. 88
ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและความเป็นไปได้
82
โดยกำหนดเป้าหมาย คือ ลดอัตราการเพิ่มขยะในปี 2550 ไม่เกิน 5% และในปี
2553 ไม่เกิน 3% ดังนั้น ในระยะแรกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตจึงได้ร่วมกับ องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลเชิงทะเลและเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี และ
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดการขยะมูลฝอย
ดำเนินโครงการด้านการจัดการขยะต่างๆ ดังนี้
1. สร้างจิตสำนึกด้านการจัดการขยะให้กับเยาวชน
การกำจัดขยะนั้นถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ แต่สิ่งที่ควรดำเนินการคือ เน้น
การลดขยะจากต้นทาง โดยเฉพาะการปลูกจิตสำนึกเริ่มตั้งแต่ครัวเรือนซึ่งเป็นชุมชนเล็กสุด
ที่สำคัญคือการเข้าไปให้ความรู้กับเด็กนักเรียนในสถานศึกษา เพื่อจะได้ไปช่วยกระตุ้นในส่วน
ของครอบครัวต่อไป โดยเล็งเห็นว่าจังหวัดภูเก็ตน่าที่จะมีการบริหารจัดการขยะครบทุกขั้น
ตอน ตั้งแต่การณรงค์ให้มีการคัดแยกขยะตั้งแต่ตั้นทาง จะทำให้ปริมาณขยะอินทรีย์ที่มีสูงถึง
60% นั้นลดลง และจะลดปริมาณขยะที่จะเข้าสู่เตาเผา หรือลดปริมาณขยะที่เกินความ
สามารถของการกำจัดโดยการเผาโดยการนำไปฝังกลบ
หากมีการคัดแยกขยะอินทรีย์แล้วนำขยะอินทรีย์นั้นมาแปรรูป เช่น การทำปุ๋ย
อินทรีย์ จะดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายทั้งประชาชนทั่วไปที่คัดแยกจากครัวเรือน สถาน
ประกอบการ รวมทั้งนักเรียนและนักศึกษา เมื่อมีการคัดแยกขยะจากครัวเรือนแล้ว ท้องถิ่น
ต่างๆ ในภูเก็ตจะต้องปรับปรุงระบบการจัดการขยะของท้องถิ่นด้วย โดยการพัฒนาระบบการ
เก็บขยะให้สอดคล้องกับการคัดแยกจากต้นทาง รวมทั้งในถังขยะมูลฝอยให้สอดคล้องกับ
การคัดแยก รวมทั้งท้องถิ่นต่างๆ จะต้องร่วมมือกันจัดตั้งสถานที่ขยะทำการคัดแยกก่อนที่จะ
นำเข้าสู่เตาเผาขยะ ซึ่งทั้งหมดจะสามารถลดปริมาณขยะที่เข้าสู่เตาเผาได้
ในปี พ.ศ. 2548 – 2549 ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตได้ร่วมกับมูลนิธิเพื่อ
การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน และโรงเรียนในเขตจังหวัดภูเก็ต จำนวนกว่า 30 แห่ง
ผ่านการอบรม “โครงการพื้นฐานกิจกรรมธนาคารวัสดุรีไซเคิลในโรงเรียน” เพื่อสร้างจิตสำนึก
และปลูกฝังให้เยาวชนมีความรู้เรื่อวการจัดเก็บขยะ รวมถึงข้อดีและข้อเสียของการคัดแยก
ขยะ รวมถึงประโยชน์หรือผลพลอยได้ที่ได้รับจากการคัดแยกขยะรีไซเคิล โดยสอนวิธีการ
สถาบันพระปกเกล้า