Page 87 - kpi8470
P. 87

ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  รูปแบบและความเป็นไปได้
                                                                         81


                 หากไม่รีบดำเนินการแก้ไขให้ทันท่วงที ปัญหาขยะจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และส่งผล
                 กระทบกับเศรษฐกิจของจังหวัดนั่นก็คือ การสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยว เนื่องจากสภาพ

                 ปัญหาขยะที่อาจล้นเมืองและไม่สามารถกำจัดได้อย่างทันท่วงที และพบว่า ในบางพื้นที่มีการ
                 ขยายตัวทางเศรษฐกิจ เช่น พื้นที่ที่มีการก่อสร้างโครงการต่างๆ ทั้งที่เป็นโรงแรมและบ้านที่
                 อยู่อาศัยมีอัตราขยะเพิ่มสูงขึ้นถึง 30-40% ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถที่จะ
                 บริหารจัดการได้ทำให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมาก

                     องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและ
                 พลังงาน โดยการสนับสนุนจากองค์กรเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น

                 (JICA) และกระทรวงพลังงาน ได้เริ่มดำเนินโดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2547 และได้มีการ
                 ศึกษาปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นภายในจังหวัดภูเก็ตพบว่าขยะมีอัตราเพิ่มสูงมากขึ้นถึง
                 8.84% ในบางพื้นที่ ซึ่งการเพิ่มขึ้นนี้จะก่อให้เกิดปัญหากับการจัดการขยะในอนาคต ดังนั้น
                 จึงใช้กระบวนการบริหารจัดการขยะ 3 ขั้นตอน คือ “แยก ร่วม และลงมือ”

                    ❑  แยก คือ ต้องมีการแยกขยะจากต้นทางและมีระบบการจัดเก็บขยะแบบแยกประเภท


                    ❑  ร่วม คือ สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงการพัฒนาความร่วมมือระหว่าง
                      องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                    ❑  ลงมือ คือ คัดแยกขยะและลดปริมาณขยะที่ต้นทาง ปรับปรุงระบบการจัดการขยะ
                      และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบกำจัดขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น















                                                                   สถาบันพระปกเกล้า
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92