Page 96 - kpi8470
P. 96
ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและความเป็นไปได้
0
ต่อมาในช่วงต้นปี 2549 องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเลได้ปรับปรุงระบบการจัด
เก็บเพื่อให้สามารถบริการแก่ชุมชนและสถานประกอบการมากขึ้น พบว่าปริมาณขยะมูลฝอย
ที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยในปี 2548 เป็นวันละ 20-30 ตันต่อวัน ส่งผลกระทบต่อ
งบประมาณที่จัดเตรียมไว้เพื่อการเก็บขนและการกำจัดอย่างรุนแรง จนมีแนวโน้มว่าอาจ
ยกเลิกการให้บริการต่อสถานบริการ
ปัญหาดังกล่าว เกิดขึ้นจากความพยายามปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดการของ
ท้องถิ่น โดยอาจกล่าวได้ว่า ที่ผ่านมาองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเลมีขีดความสามารถใน
การให้บริการเก็บขนจำกัดไม่เกินวันละ 10 ตัน ทำให้สถานประกอบการและเอกชนอื่นๆ ต้อง
จัดระบบเก็บขนและนำไปกำจัดที่เตาเผาเอง เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเลขยายขีด
ความสามารถในการเก็บขนทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยที่จัดเก็บได้เป็นปริมาณที่เกิดขึ้นจริงใน
พื้นที่ในแต่ละวัน แต่การจัดเก็บขยะมูลฝอยที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวกับส่งผลกระทบต่อ
ระบบการจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านงบประมาณที่สูงขึ้น ขณะที่รายได้จากการจัดเก็บค่า
ธรรมเนียมยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง การที่องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเลต้องแบกรับภาระ
ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างด้านรายรับและค่าใช้จ่ายที่ไม่สัมพันธ์กัน เป็น
เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องค้นหาข้อเท็จจริง
เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเลสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะ
มูลฝอยได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการปรับปรุงระบบ
การจัดการขยะมูลฝอย จังหวัดภูเก็ตซึ่งดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีความ
เห็นร่วมกันที่จะทำการสำรวจ ศึกษาประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นและวิเคราะห์แนวทางการแก้
ปัญหาที่เหมาะสมโดยเร่งด่วน กำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2549 โครงการ
ศึกษาเพื่อปรับปรุงระบบการจัดการขยะมูลฝอย องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเลนี้จะเป็น
แบบอย่างของการทำงานร่วมกันระหว่างท้องถิ่น ที่ควรใช้เป็นตัวอย่างและขยายผลไปยัง
ท้องถิ่นอื่นและจังหวัดอื่นๆ ต่อไป
สถาบันพระปกเกล้า