Page 100 - kpi8470
P. 100
ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและความเป็นไปได้
ที่เป็นที่ตั้งศูนย์ ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งจึงไม่อยากดำเนินการ
ในลักษณะนี้
6. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องใจกว้างและเปิดใจรับว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มิใช่ผู้รู้หรือนักปราชญ์ในทุกๆ ด้าน ดังนั้น ในการดำเนินการจึงควรหาที่ปรึกษาหรือ
ว่าจ้างให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการทำงานมาร่วมดำเนินการเพื่อ
ให้ได้ผลที่ดีถูกหลักวิชาการ เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน
7. ในช่วงที่ยังไม่มีกฎหมายหรือระเบียบรองรับการดำเนินงานในรูปแบบสหการนั้น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการจัดตั้ง “องค์กรเครือข่าย” ที่ดำเนินงานด้าน
การจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมกัน เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานที่ชัดเจน
และเป็นที่ประจักษ์ว่าเมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมตัวกันดำเนินการแล้ว การ
บริหารจัดการก็จะเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ปริมาณขยะในพื้นที่ลดน้อยลง และเป็นการ
เผยแพร่ให้ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นได้เข้าใจ และสามารถเข้าถึง
ได้ง่าย และอาจใช้เป็นต้นแบบในการขยายผลต่อไป
8. ในการดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีความเข้าใจต่อประเด็นปัญหาและมีเป้าหมายร่วมกัน
เพื่อแก้ปัญหา การดำเนินงานจึงจะประสบความสำเร็จ และในการดำเนินการแก้ไข
ปัญหาร่วมกันนั้น นอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องมีข้อมูล
สนับสนุนที่เพียงพอเพื่อที่จะเป็นฐานคิดในการตัดสินใจร่วมกัน และองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นทุกแห่งต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ตรง
สภาพความจำเป็นและความต้องการของท้องถิ่นตน ร่วมรับทราบปัญหาและข้อมูล
สนับสนุน กำหนดรูปแบบและวิธีการในการบริหารจัดการ รวมถึงวิธีในการบริหาร
จัดการ โดยไม่ได้ผูกขาดว่าจะต้องเป็นความเห็นขององค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น
9. ในการดำเนินงานความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะต้องมี
ขอบเขตการทำงานที่ชัดเจนโดยดำเนินงานนั้นจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับภาระกิจที่แต่ละ
ท้องถิ่นดำเนินการอยู่ มีกระบวนการทำงานที่โปร่งใส รวมถึงมีรายละเอียดการดำเนิน
งานที่เป็นระบบ
สถาบันพระปกเกล้า