Page 99 - kpi8470
P. 99
ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและความเป็นไปได้
ข้อเสนอแนะในการดำเนินการด้านองค์กรความร่วมมือระหว่าง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต
1. ควรมีการแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานรูปแบบสหการเพื่อ
ให้ดำเนินการและปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้เพราะในส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลและ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดยังไม่มีระเบียบรองรับการในการดำเนินงานรูปแบบสหการ
และในส่วนของเทศบาลเองถึงแม้จะมีกฎหมายรองรับแล้ว แต่ในการปฏิบัติงานจริงก็
ยังไม่สามารถดำเนินการได้
2. ควรจัดตั้งจังหวัดภูเก็ตเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เพื่อให้จังหวัด
ภูเก็ตสามารถออกกฎหมายดูแลจังหวัดเราเองได้ เช่น จะเก็บภาษีกันอย่างไร มี
รายได้กันอย่างไร และจะบริหารจัดการอย่างไร เพื่อให้ทุกองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ เหมือนกับกรุงเทพมหานครที่สามารถออก
ระเบียบต่างๆ โดยปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่นเองได้
3. จัดตั้งโครงการนำร่องรูปแบบที่ 3 ซึ่งต่างจากทั้ง 2 รูปแบบที่กรมส่งเสริมการ
ปกครองท้องถิ่นได้ เสนอไว้ โดย องค์กรความร่วมมือนี้เป็นองค์กรที่สามารถว่าจ้าง
ให้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเป็นผู้บริหารจัดการองค์กรความร่วมมือนี้ได้ เพื่อ
ตอบสนองความต้องการขององค์กรความร่วมมือให้สามารถเลือกวิธีการบริหาร
จัดการที่เหมาะกับตัวเอง
4. เพิ่มการจัดตั้งโครงการนำร่องอีก 1 รูปแบบ จากเดิมที่กรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่นดำเนินการอยู่ คือ เป็นรูปแบบที่องค์กรความร่วมมือฯ สามารถว่าจ้างให้
ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเป็นผู้บริหารจัดการองค์กรความร่วมมือฯ นี้ได้ เพื่อ
ตอบสนองความต้องการขององค์กรความร่วมมือฯ ให้สามารถเลือกวิธีการบริหาร
จัดการที่เหมาะกับตัวเอง
5. รูปแบบการดำเนินงานขององค์กรความร่วมมือฯ ที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ดำเนินการในโครงการนำร่องนั้น มีจุดอ่อนคือ เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้า
ร่วมศูนย์ความร่วมมือฯ นำเงินมาอุดหนุนให้กับศูนย์ฯ แล้ว และหากศูนย์มีการจัด
ซื้อจัดจ้างพัสดุใดก็ตาม ภายหลังให้พัสดุนั้นตกเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สถาบันพระปกเกล้า