Page 115 - 22665_Fulltext
P. 115

98


                       บริหารส่วนต าบลท่าศาลา  ได้จัดงานวันสงกรานต์ ประเพณีลอยแพ  วันเข้าพรรษา ถวายเทียน

                       พรรษา งานประเพณีด้านศาสนาอิสลาม เช่น งานเมาลิดกลาง การเข้าสุนัต ฯลฯ  ซึ่งได้จัดเป็นประจ า

                       ทุกปี
                                  ชุมชนบ้านหน้าทับ หมู่ที่ 7 ต าบลท่าศาลา อ าเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

                       ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพประมงมาตั้งแต่เดิม มีรายได้หลักจากอาชีพ
                       ประมงและการเกษตร ในชุมชนมีศาสนาสถาน ประกอบด้วย มัสยิดดารุลอามานและบาลาย ส่วนวัด

                       ตั้งอยู่ในหมู่บ้านอื่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านแหลมโฮมสเตย์

                       กลุ่มงานไม้ กลุ่มวิสาหกิจเครื่องแกงบ้านแหลมโฮมสเตย์ กลุ่มผลิตภัณฑ์หางอวน กลุ่มมุสลีมะฮ์แม่บ้าน
                       หน้าทับ, กลุ่มแกนน าศาสนาประจ ามัสยิดฯบ้านหน้าทับ, กลุ่มเยาวชนฯ บ้านหน้าทับ, กลุ่มอนุรักษ์ป่า

                       ชายเลนบ้านหน้าทับ และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านหน้าทับ กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านแหลม
                       โฮมสเตย์ เป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้สูง กลุ่มชาวบ้านได้ร่วมกันจัดท ากิจกรรมท่องเที่ยว

                       ชุมชนเชิงอนุรักษ์ ในนามกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านแหลมโฮมสเตย์ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันอย่าง

                       เข้มแข็งของชาวบ้านหน้าทับ หมู่ที่ 7 และบ้านแหลมหมู่ที่ 14 โดยเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวให้ได้เข้า
                       มาสัมผัสวิถีชีวิตของชาวประมงชายฝั่ง  และได้ร่วมท ากิจกรรมอนุรักษ์ป่าชายเลน กลุ่มอนุรักษ์มีการ

                       ท างานร่วมกับเครือข่าย สร้างกลุ่มโดยมีเครือข่าย วิชาการ ภาครัฐด้านบงประมาณ และชุมชนต้องเอา
                       ด้วย กลุ่มแกนน า คิดกันเองก่อน และมีที่ปรึกษาในด้านวิชาการ มีภาครัฐสนับสนุนงบประมาณ

                       รวมถึงเอกชนสนับสนุนงบประมาณด้านการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม
                                  กล่าวในเชิงเปรียบเทียบในบริบททั่วไป บ้านหน้าทับเป็นหมู่บ้านท าประมงเป็นหมู่บ้าน

                       ชาวมุสลิมนับถือศาสนาอิสลามที่อาศัยอยู่ริมทะเลใช้เครื่องมือหาปลาอย่างง่ายๆ มีบริบทที่สอดคล้อง

                       กับ ฉัตรทิพย์ นาคสุภาและพูนศักดิ์ชวนิกรกรประดิษฐ์ (2540) อ้างถึงใน วิชัย กาญจนสุวรรณ (2547)
                       ได้อธิบายหมู่บ้านภาคใต้ฝั่งตะวันออกในอดีต หมู่บ้านท าประมงมักจะเป็นหมู่บ้านชาวมุสลิมนับถือ

                       ศาสนาอิสลามที่อาศัยอยู่ริมทะเลใช้เครื่องมือหาปลาอย่างง่ายๆเช่นวางเบ็ดวังไทรและวางอวนโดยใช้

                       เรือขนาดเล็กออกเรือทุกวันยกเว้นวันศุกร์เพื่อท าละหมาด โดยทั่ว ๆ ไปชุมชนประมงจะไม่มีที่ดินปลูก
                       ข้าว และการใช้ปลาแลกข้าวจากชุมชนท านาก็ลดน้อยลงแทบหมดไป ในขณะที่บ้านทับทิมสยาม 07

                       เป็นหมู่บ้านสุดท้ายติดชายแดนเขมร สภาพภูมิประเทศมีความลาดชัน เป็นชุมชนที่อพยพมาจากหลาย
                       ที่ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งเขมร ลาว ส่วย เยอ และเคารพในระบบอาวุโสสอดคล้องกับ

                       วิถีแบบเจ้าโคตร ภูมิปัญญาอีสานที่เคารพในระบบอาวุโสและระบบความเชื่อ ชาวบ้านทับทิมสยาม
                       07 จะมีอาชีพเกษตรกรรม ทั้งข้าว มันส าปะหลัง ยางพารา เป็นต้น โดยมีอาชีพเสริมเช่นการท าจัก

                       สาน

                                  การศึกษาชุมชนมีการกล่าวถึงการเข้าใจวัฒนธรรมชุมชนในฐานะเป็นกลไกการสร้าง
                       ความเข้มแข็งชุมชน ซึ่งจะเกี่ยวโยงกับการบริหารจัดการปัญหาทุกเรื่องของชุมชนซึ่งรวมถึงปัญหา
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120