Page 113 - 22665_Fulltext
P. 113
96
งานวิจัย ในบทนี้ท าให้เราเข้าใจถึงบริบทของชุมชนทั้งสองแห่งทางภาคตะวันออกเฉียง
เหนือและภาคใต้
1) กรณีบ้านทับทิมสยาม 07 ในบริบทของต าบลบักดอง อ าเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะ
เกษ พบว่า ข้อมูลพื้นฐานของต าบลบักดอง อ าเภอขุนหาญ ประชากรที่หลากหลายมีทั้งเขมร ลาว
ส่วย เยอ จากจ านวนหมู่บ้านที่มากถึง 22 หมู่บ้าน ลักษณะภูมิประเทศมีพรมแดนติดกับประเทศเขมร
สภาพทรัพยากรธรรมชาติ มีป่าไม้ ป่าชุมชน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก แหล่งน้ า มีทั้งแหล่งน้ า
ธรรมชาติ และแหล่งน้ าที่สร้างขึ้น การศึกษาต าบลบักดองมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนประถมศึกษา
โรงเรียนสาขา โรงเรียนขยายโอกาส และ โรงเรียนมัธยมศึกษา รวมทั้งหมด 18 แห่ง ระบบบริการ
พื้นฐาน ในเขตต าบลบักดองไม่มีรถโดยสารประจ าทาง การเดินทางต้องใช้ยานพาหนะส่วนตัวระบบ
เศรษฐกิจ การเกษตร ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้จากผลผลิตทางการเกษตร ประชากรร้อยละ 88
ประกอบอาชีพทาง การเกษตร พืชเศรษฐกิจส าคัญคือ ยางพารา รองลงมาได้แก่ ข้าว มันส าปะหลัง
ข้าวโพด ถั่วลิสง และ นอกจากนี้ยังมีการปลูกผลไม้ทางเศรษฐกิจเพิ่มคือ เงาะ ทุเรียน ฝรั่ง ทางทิศใต้
ของต าบล ในต าบลบักดองไม่มีการท าการประมงเป็นอาชีพหลัก แต่เนื่องจากเขตต าบลบักดองมีล า
ห้วยธรรมชาติ ประชาชนจึงหาปลาและสัตว์น้ าอื่น ๆ มาเพื่อบริโภค มีการเลี้ยงปลาในกระชังเพื่อเป็น
รายได้เสริม และมีการ เลี้ยงปลาในแหล่งน้ าขนาดเล็กตามไร่นาเพื่อเป็นอาหารด้วย
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ต าบลบักดอง มีทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นป่าเขา มีล าห้วย หนอง คลอง
บึงอยู่ทั่วไป มีสภาพเป็นป่าไม้และภูเขาด้านทิศใต้ของต าบล เป็นแหล่งต้นน้ าล าธาร จึงมีภูมิทัศน์ที่
สวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการปรับปรุงพัฒนาแล้ว ได้แก่ น้ าตก
ส าโรงเกียรติ น้ าตก พรหมวิหาร น้ าตกบักดอง เขื่อนห้วยทา ปราสาทต าหนักไทร น้ าตกพรหมโลก
น้ าตกถ้ าพระพุทธ สวน ผลไม้ กลุ่มอาชีพ ทุกหมู่บ้านมีกลุ่มอาชีพ มีทั้งของกินและของใช้ ผลิตภัณฑ์
จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทุเรียนภูเขาไฟ ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม การนับถือศาสนา ประชากรส่วน
ใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประชากรใน ต าบลบักดองนับถือศาสนาพุทธ รวม 9,152 คน คิดเป็นร้อยละ
99.89 และนับถือศาสนาคริสต์ รวม 10 คน คิดเป็นร้อยละ 0.11 พิธีส าคัญ เช่น แซนโฎนตา ไหว้
บรรพบุรุษและพิธีทอดกฐินสามัคคี
กล่าวอย่างเจาะจงถึงข้อมูลพื้นฐานของบ้านทับทิมสยาม 07 หมู่ 15 ต าบลบักดอง
อ าเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นยุทธศาสตร์ป้องกันประเทศตามแนว
ชายแดน เพื่อตอบสนองพระราชเสาวนีย์ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์
วลัยลักษณ์ องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (พระยศในขณะนั้น) โดยการอพยพราษฎรจากบ้าน
สันติสุข บ้านตาจู บ้านสวายโก่ง บ้านพราน บ้านกระหวัน บ้านดื่อ ฯลฯ ในเขตอ าเภอ ขุนหาญ อ าเภอ
ไพรบึง อ าเภอศรีรัตนะ ฯลฯ ที่มีฐานะยากจนเข้ามาอยู่ในโครงการ โดยสถาบันฯ จะสร้างบ้านพักให้
ในพื้นที่ 1 ไร่ และจัดที่ท ากินส าหรับเกษตรกร จ านวน 210 ครอบครัว การเกษตรกรรม มีพื้นที่