Page 112 - 22665_Fulltext
P. 112

95


                                  รวมถึงการสนับสนุนการปลูกป่าโกงกางจากภาคเอกชน  ในอดีตมีป่าโกงกางน้อย เมื่อปี

                       2554 มีการสนับสนุนจากปทต. 1 ล้านต้นแรก ในการปลูกป่าโกงกาง ท าให้ปูแสมเกิดขึ้นเยอะ เป็นป่า

                       เลนใหม่ทั้งหมดเลย และป่าโกงกางยังได้มาจากการปลูกโดยนักท่องเที่ยว
                                  การท างานของกลุ่มบ้านแหลมโฮมสเตย์ เน้นความร่วมมือกับผู้น าที่เป็นทางการ เชิญ

                       ผู้น าทั้งผู้ใหญ่บ้านและอบต.อย่างต่อเนื่อง และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
                                  “ส าหรับกลุ่มที่เราท า เราเชิญผู้ใหญ่บ้าน อบต. จนบอกพวกเราว่าวันหลังไม่ต้องแล้วก็

                       ได้ ให้พวกเธอท าไป คือตอนแรกเราก็ให้เกียรติมาทุก ๆ ครั้ง จนบางทีเขาเองก็มีภาระงานอย่างอื่น

                       เขาบอกท าไปเลยมีอะไรแล้วค่อยไปบอก อันนั้นผมว่าเป็นโอกาสของชุมชนของเราด้วย เพราะบาง
                       ชุมชน บางทีเราไปเจอเพื่อนเขาบอกผู้ใหญ่เขาไม่ได้เปิดกว้างขนาดนั้น ส าหรับชุมชนเราผมก็ถือว่าเป็น

                       โอกาสในการขับเคลื่อนของกลุ่มเราด้วยเวลาเราท าอะไร” (สันติ, สัมภาษณ์, 1 มีนาคม 2564)


                       3.3 บทสรุป

                                  การวัดระดับสันติภาพในสากลเพื่อเปรียบเทียบสันติภาพของแต่ละประเทศมีการศึกษา
                       โดยหลายสถาบัน ไม่ว่าจะเป็น Global Peace Index และ Positive Peace Index วัดโดย Institute

                       for Economics and Peace หรือ Fragile State Index วัดโดย Fund For Peace การวัดระดับ
                       สันติภาพในระดับมหภาคที่กล่าวมาล้วนแต่ค านึงถึงบริบทในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

                       กล่าวคือมีการสร้างตัวชี้วัดเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าวโดยดูบริบทที่หลากหลายมิได้ดูเพียงด้านใดด้านหนึ่ง
                       ในขณะที่อีกด้านหนึ่งการวัดสันติภาพ มีงานที่เสนอแนะว่าการวัดสันติภาพจ าเป็นต้องพิจารณาใน

                       ระดับจุลภาค คือค านึงถึงแต่ละบริบท ตัวชี้วัดย่อมมีความแตกต่างกันในการวัดระดับสันติภาพ เช่น

                       ในงาน Everyday Peace Indicator ศึกษาโดย Firchow การวัดสันติภาพของสากลในระดับมหภาค
                       และจุลภาค จึงมีจุดร่วมเหมือนกันคือการค านึงถึงบริบทที่หลากหลายทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และ

                       การเมือง ดังนั้น งานวิจัยเรื่องนี้ที่เน้นบริบททางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้จึงจ าเป็นต้อง

                       ศึกษาบริบทที่หลากหลายเพื่อเข้าใจสันติภาพและกระบวนการจัดการความขัดแย้งโดยคนกลาง
                                  กล่าวให้ลึกลงไป ท าไมจึงต้องท าความเข้าใจบริบทในชุมชน บริบทมีความส าคัญอย่างไร

                       การเข้าใจบริบทอธิบายเชื่อมโยงได้กับการศึกษาแนวทางชาติพันธุ์วิทยา (Ethnographic Approach)
                       Autesserre เอาแตแซร์ เซวาลีน ได้อธิบายว่าท าไมการสร้างสันติภาพจึงล้มเหลว เพราะใช้แนวทาง

                       กว้าง (Broad) ที่เป็นความรู้จากนอกชุมชนหรือจากผู้เชี่ยวชาญมากกว่าจาก ท้องถิ่น (Local
                       Knowledge) โดยใช้องค์ความ รู้จากผู้เชี่ยวชาญ ใช้การวัดสันติภาพจากระดับมหภาค แต่ควรใช้

                       แนวทางชาติพันธุ์วิทยา ที่เน้นบริบทวัฒนธรรมท้องถิ่น (Local Culture) ประวัติศาสตร์ จะท าให้เข้า

                       ใจความขัดแย้งที่มีพลวัต  (Capland, 2019, pp. 107 - 118)
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117