Page 116 - 22665_Fulltext
P. 116
99
ความขัดแย้ง ได้แก่ (บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ, 2547) (1) ลักษณะการสืบสานวัฒนธรรมชุมชนที่ยาวนาน
มีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งอย่างต่อเนื่องลักษณะ (2) วัฒนธรรมชุมชนในด้านของ
คุณธรรม โดยเฉพาะการที่คนในชุมชนคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมชอบช่วยเหลือส่วนรวม (3) ระบบ
ความสัมพันธ์แบบพี่น้องซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบแนวราบที่ไม่มีความแตกต่างทางชนชั้น ช่วยเหลือ
เกื้อกูลกันบนฐานของความปรารถนา ดีต่อกัน (4) ความรู้สึกของคนในชุมชนที่ต าหนักและภาคภูมิใจ
ในคุณค่าวัฒนธรรมชุมชนของตนเอง
ในประเด็นวัฒนธรรมชุมชนในเชิงเปรียบเทียบ ชุมชนบ้านหน้าทับเมื่อพิจารณาจาก
วัฒนธรรมชุมชน จะมีสอดคล้องกับที่บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ (2547) อธิบายไว้คือ (1) ลักษณะการสืบ
สานวัฒนธรรมชุมชนที่ยาวนาน มีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งอย่างต่อเนื่อง (2) ระบบ
ความสัมพันธ์แบบพี่น้องซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบแนวราบที่ไม่มีความแตกต่างทางชนชั้น ช่วยเหลือ
เกื้อกูลกันบนฐานของความปรารถนา ดีต่อกัน มีความเป็นเครือญาติ เป็นมุสลิมเกือบทั้งหมู่บ้าน (3)
ความรู้สึกของคนในชุมชนที่ตระหนักและภาคภูมิใจในคุณค่าวัฒนธรรมชุมชนของตนเอง ส่วนในเรื่อง
วัฒนธรรมชุมชนในด้านของคุณธรรม โดยเฉพาะการที่คนในชุมชนคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมจะมีทั้ง
ลักษณะคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมและประโยชน์ส่วนตัวดังเห็นได้จากความร่วมมือในการใช้ทรัพยากร
ปกป้องทรัพยากรไม่ให้คนนอกมาสัมปทานทางทะเล ในขณะเดียวกันก็มีการแย่งชิงทรัพยากรใน
บางครั้ง ในขณะที่ชุมชนบ้านทับทิมสยาม 07 เป็นหมู่บ้านที่มีความหลากหลาย มีความภาคภูมิใจใน
พระมหากรุณาของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ (พระยศในขณะนั้น) ที่ได้ก่อตั้ง
หมู่บ้านแห่งนี้ และให้โอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างรอบด้าน ส่วนระบบความสัมพันธ์แบบพี่
น้องซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบแนวราบจะมีสูงในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันเห็นได้จากงานบุญ ประเพณีต่าง
ๆ อย่างไรก็ตาม แม้ต่างกลุ่มชาติพันธุ์เมื่อมีพิธีกรรมส าคัญก็จะร่วมแรงร่วมใจกันทั้งหมู่บ้าน เช่น ในพิธี
แซนโฎนตา ของเขมร คนลาวก็จะมาร่วมงานด้วย