Page 110 - 22665_Fulltext
P. 110
93
ชุมชนบ้านหน้าทับ หมู่ที่ 7 ต าบลท่าศาลา อ าเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรม-
ราช ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพประมงมาตั้งแต่เดิม มีรายได้หลักจาก
อาชีพประมงและการเกษตร ในชุมชนมีศาสนาสถาน ประกอบด้วย มัสยิดดารุลอามานและบาลาย
ส่วนวัดตั้งอยู่ในหมู่บ้านอื่น ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่ามัสยิดกับวัดมีความส าคัญในการพัฒนาร่วมกัน
“มัสยิดแห่งความรัก เพราะมัสยิดนี้เป็นสีชมพูและอยู่ในหมู่บ้านผมด้วย มัสยิดดารุลอา
มาน และวัดหลวงพ่อปากแดง วัดไพศาลสถิต คือถ้ามองในแง่ของศิลปกรรมเป็นวัดที่มีต้นไทรรากหุ้ม
กับก าแพง ดูสวย ตรงนี้จะเป็นชุมชนพุทธ มีอยู่นิดหนึ่ง ตอนนั้นวัดเป็นวัดร้างเลย เมื่อประมาณ 7-8 ปี
ที่แล้ว แต่เราเองก็นั่งเกาหัวกันไม่รู้ว่าจะพาไปไหน เพราะว่ามี Concept ว่าต้องมีวัดด้วย เราก็เป็น
มุสลิมที่มากวาดวัดร้าง เป็นวัดไพศาลสถิตครับ เป็นอุโบสถที่ร้างอยู่อะไรอย่างนี้ เราก็พารายการมา
ถ่าย พามาท ากิจกรรมอะไรอย่างนี้ พอไปออกรายการเสร็จปุ๊บ คนก็มาตามกัน ก็เลยมีชีวิตชีวาขึ้น
ตอนนี้ก็มีพระที่ประจ าอยู่แล้ว แล้วก็มีการเอาหลวงพ่อปากแดงเข้ามาพัฒนาขึ้น เพื่อที่จะมีกุศโลบาย
ในเชิงนั้น” (นาย ท., สัมภาษณ์, 1 มีนาคม 2564)
3.2.2.1 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านแหลม
โฮมสเตย์ กลุ่มงานไม้ กลุ่มวิสาหกิจเครื่องแกงบ้านแหลมโฮมสเตย์ กลุ่มผลิตภัณฑ์หางอวน กลุ่มมุสลี
มะฮ์แม่บ้านหน้าทับ, กลุ่มแกนน าศาสนาประจ ามัสยิดฯบ้านหน้าทับ, กลุ่มเยาวชนฯ บ้านหน้าทับ,
กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านหน้าทับ และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านหน้าทับ
ผู้ให้สัมภาษณ์ให้ข้อมูลว่ามีกลุ่มที่แยกตัวออกไปจาก กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านแหลม
โฮมสเตย์ แต่ก็ยังท างานร่วมกัน
“กลุ่มงานไม้ เดี๋ยวนี้เราก็แยกเป็นกลุ่มงานไม้ แต่ก็จะมีการประชุมกันตลอด อยู่ใน
เครือข่ายบ้านแหลม อย่างเช่นกลุ่มวิสาหกิจงานไม้ กลุ่มวิสาหกิจเครื่องแกง และบ้านแหลมโฮมส
เตย์” (นายทักษิณหมินหมัน, สัมภาษณ์, 1 มีนาคม 2564)
3.2.2.2 กลุ่มผลิตภัณฑ์หางอวน
กลุ่มผลิตภัณฑ์หางอวน ตั้งขึ้นมานานแล้วและยังด าเนินกิจการอยู่ถึงทุก
วันนี้ สืบเนื่องจากการประกอบอาชีพประมงมาตั้งแต่เดิม และได้ใช้ยอดลานที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาท าเป็น
เส้น แล้วตากแห้ง จากนั้นน ามาทอเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการหาปลา โดยใช้ติดที่ปลายอวนแต่ละหลัง
ต่อมาได้มีการ ใช้ไนล่อนมาติดที่ปลายอวนแทนผลิตภัณฑ์ที่ทอจากใบลาน เมื่อวัตถุประสงค์ใช้งาน
เปลี่ยนไป แต่ยังมีการทอใบลานอยู่ จึงได้น ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นแทน เช่น กระเป๋า
สะพาย ที่รองจานรองแก้ว หมวก แฟ้มเอกสาร กล่องใส่กระดาษทิชชู ที่ใส่รีโมท ที่ใส่โทรศัพท์มือถือ
โดยมีชื่อเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า “ผลิตภัณฑ์หางอวน” จนถึงปัจจุบัน หัตถกรรมหางอวนกับวิถีชีวิต
ชุมชนมุสลิมบ้านหน้าทับ ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราชงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการ