Page 81 - 22376_fulltext
P. 81
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
2) การตรวจสอบโดยการเก็บข้อมูลเดียวกันในเวลาที่ต่างกัน เช่น
การสัมภาษณ์ เจาะลึก (In-depth Interview) โดยผู้ให้ข้อมูลพูดเกี่ยวกับ
เรื่องใดเรื่องหนึ่ง และให้มีการสัมภาษณ์ 2 ครั้ง ในระยะเวลาที่ต่างกัน
3) การตรวจสอบโดยการเก็บข้อมูลเดียวกันในสถานที่ต่างกัน
เช่น การสัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในสถานที่ต่างกัน
3.4.2 การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและ
การตีความเชิงคุณภาพ ดังนี้
1) การวิเคราะห์เชิงกระบวนการ หมายถึงการวิเคราะห์ขั้นตอน
ของกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับการสร้างพลัง
พลเมืองโดยชุมชน
2) การวิเคราะห์ความความสัมพันธ์ทางสังคม (กลุ่ม) คือ
การจำแนกและอธิบายว่าสมาชิกมีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีรูปแบบ
ความสัมพันธ์ และการเรียนรู้พลังพลเมือง ร่วมกันอย่างไร ประกอบไปด้วย
การวิเคราะห์การกระทำของแต่ละบุคคล (acts) แบบแผนการกระทำ
(activities) ความหมาย (meaning) คือ สังเกตการให้ความหมายของ
ผู้ถูกศึกษาที่มีต่อการกระทำ (acts) และแบบแผนการกระทำ (activities)
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในชุมชน การมีส่วนร่วม รวมทั้งองค์ประกอบ
ของสภาพแวดล้อมอื่น ๆ
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า