Page 78 - 22376_fulltext
P. 78

เสริมสร้างพลังพลเมือง
                      จังหวัดร้อยเอ็ด


                     1. แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview

               or Guided Interview)

                       โดยอาศัยแนวสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก (In-depth Interview)

               เพื่อรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informants) ที่สามารถ
               ตอบวัตถุประสงค์ของกระบวนการทำงานของ สภาพลเมืองทั้ง 5 มิติ

               ปรากฏในภาคผนวก ก.

                     2. แบบบันทึกการสังเกต

                       ผู้ศึกษาใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participatory observation)

               เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบด้วยการเข้ามีส่วนร่วมในการในระดับ
               ต่าง ๆ คือ ผู้สังเกตจะเข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ถูกสังเกต และเป็นส่วนหนึ่ง

               ในการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อสังเกตพฤติกรรมที่เป็นธรรมชาติ
               เห็นภาพรวมของเหตุการณ์ และสามารถตรวจสอบข้อมูลซ้ำ ๆ ได้ กิจกรรม
               ที่เข้าร่วมและสังเกตกลุ่มเป้าหมายและสภาพแดวล้อม ตั้งแต่การเข้าร่วม

               ประชุม การร่วมกิจกรรมในพื้นที่ การร่วมอยู่ในกลุ่มการสื่อสารออนไลน์

                       การพัฒนาแบบบันทึกการสังเกต ใช้กรอบตามหลักการสังเกต

               เชิงคุณภาพดังนี้ (สุภางค์ จันทวานิช, 2549, 50-55)

                       -  การกระทำของแต่ละบุคคล (acts) คือ สังเกตวิถีการ

               ดำเนินชีวิตของผู้ถูกศึกษา ที่อยู่อาศัย ไปจนถึงเสื้อผ้าที่ใส่

                       -  แบบแผนการกระทำ (activities) คือ สังเกตการกระทำหรือ
               พฤติกรรมที่เป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนและมีลักษณะต่อเนื่องจนเป็น

               แบบแผน เช่น การเพาะปลูก การจัดงานประจำปี หรืออื่น ๆ เพื่อชี้ให้เห็น
               ถึงสถานภาพ บทบาท และหน้าที่ของสมาชิกในสังคมได้



                 สถาบันพระปกเกล้า
                                                                                                                  สถาบันพระปกเกล้า
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83