Page 22 - 22376_fulltext
P. 22
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
รวมทั้งโรงเรียนพลเมืองใน 5 อำเภอ เกิดผลงานเพิ่มขึ้นในยุทธศาสตร์ที่ 2
เพื่อการกินดีอยู่ดี คือการผลักดันแผนพัฒนาข้าวหอมมะลิสู่แผนพัฒนา
จังหวัด มีการขยายผลโครงการเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษโดยองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดโดยการอบรมให้ความรู้ ยุทธศาสตร์ด้านการเมือง
ที่ส่งเสริมการไม่ซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านนั้นปรากฎผล
เชิงรูปธรรมว่า การเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลสว่าง อำเภอโพนทอง
ไม่ซื้อสิทธิขายเสียงทำให้งบประมาณในการหาเสียงของผู้สมัครลดลงจาก
3 แสน เหลือเพียง 2 หมี่นบาท (สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง,
2560) ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการเสริมสร้างวินัยและคุณธรรม มีการ
ขยายผลโครงการซื่อตรงใน 10 อำเภอ ขยายโครงการการจัดการขยะ
ขยะไร้ถังและการเก็บเงินออมจากการจัดการขยะเป็นกองทุนสาธารณะ
ในอำเภอที่ขยายผล มีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในการคัดแยกขยะ
ของหมู่บ้าน ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการศีกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง
ขยายกลุ่มเป้าหมายทั้งประเภทและจำนวน ด้วยโครงการเยาวชนไทยหัวใจ
พลเมือง และมีแกนนำวิทยากรขยายผลเพิ่มขึ้น แกนนำวิทยากรนำความรู้
ไปขยายผล และเกิดโครงการใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ของโรงเรียน
พลเมือง และโครงการชุมชนพลเมืองเข้มแข็ง ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้าน
การสร้างและขยายเครือข่าย เพิ่มขึ้นจากเดิมออกไปในอีกรวมเป็น
10 อำเภอ ที่ร่วมขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว ภายใต้แกนนำและ
เครือข่ายพลเมือง
การถอดบทเรียนและการเรียนรู้ผลการดำเนินงานระหว่างปี 2559 -
2560 ดังกล่าว พบว่า ความสำเร็จในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองและ
การขยายผลเครือข่ายพลเมืองของโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลัง
พลเมือง คือ การส่งเสริมทุนมนุษย์คือแกนนำที่มีความต้องการแก้ไขและ
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า