Page 23 - 22376_fulltext
P. 23
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
พัฒนาพื้นที่ และมีศักยภาพ ตระหนักในความเป็นพลเมือง และมีศักยภาพ
เป็นแกนนำขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายต่อไปได้ การส่งเสริมทุนความรู้
โดยสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าเพื่อบูรณาการ
เข้ากับความรู้เดิมของชุมชน ให้เกิดพื้นที่ต้นแบบที่มีความรู้มีผู้ถ่ายทอด
ความรู้และมีตัวอย่างการปฏิบัติและแหล่งเรียนรู้ และทุนด้านเครือข่าย
ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ขององค์กรภาคีเครือข่าย ทั้งระดับชุมชนและ
ระดับหน่วยงานรัฐ ทำให้เกิดการรวมตัวกับแก้ไขปัญหาเกิดกระบวนเรียนรู้
ถึงพลังของพลเมืองผ่านโครงการต่าง ๆ
ผลการเรียนรู้ดังกล่าว สรุปรูปแบบการขับเคลื่อนว่าต้องมีลักษณะ
เหมือนไข่ที่ประกอบด้วย เปลือกไข่ ไข่ขาว และไข่แดง โดยส่วนแกนนำ
หลัก ที่เป็นทุนมนุษย์ที่จะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพจากสถาบัน
พระปกเกล้าคือไข่แดง ซึ่งจะเผยแพร่ความรู้ สู่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อ
ขยายผลและเป็นกลไกสำคัญเพื่อความยั่งยืนของการสร้างพลเมือง เช่น ครู
ผู้นำชุมชน แกนนำตามธรรมชาติ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำองค์กร ผู้นำเครือข่าย
ประชาชนอาสา เป็นต้น เรียกคำอธิบายนี้ว่ารูปแบบหรือโมเดลไข่ (Egg
model) โดยกระบวนการในการดำเนินโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลัง
พลเมือง ดังกล่าวประกอบด้วยหลักการดำเนินงาน KRATIB – กระติ๊บ ดังนี้
การให้ความรู้ - Knowledge กล่าวคือ การทำงานอย่างมีความรู้
ความเข้าใจ และใช้ทักษะในทุกขั้นตอน ความรู้ได้ทำให้การทำงานของ
พลเมืองที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางใน
การทำงาน มีเนื้อหาในการขับเคลื่อน เพิ่มคุณค่าในงานพลเมือง
พื้นที่เปิด เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - Room เป็นพื้นที่ที่กลุ่มต่าง ๆ
ในสังคมสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้ตามประสงค์ ดังพื้นที่โรงเรียน
พลเมืองที่สามารถแสดงความคิดเห็น หาความรู้ สร้างความร่วมมือ
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า