Page 20 - 22376_fulltext
P. 20
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
การเลือกตั้งที่ไม่ซื้อสิทธิเสียง และโรงเรียนพลเมือง เป็นต้น โดยให้
ความสำคัญกับการให้ประชาชนที่ร่วมโครงการและกิจกรรมนำไปใช้
เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนในฐานะพลเมืองที่กระตือรือร้น
ผลการดำเนินงานในช่วงปีงบประมาณดังกล่าว สามารถให้ความรู้ความเป็น
พลเมืองและการมีส่วนร่วมได้ตามเป้าหมายประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ
มีความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการวัดประเมินอย่างเป็นระบบ
ผลการดำเนินงานในปีดังกล่าว เป็นพื้นฐานของการดำเนินงานใน
ปีต่อ ๆ ไป ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการศึกษาอบรม แกนนำชุมชน
ที่เข้ารับการเสริมความรู้ความเป็นพลเมืองที่กระตือรือร้นนำความรู้
ไปประยุกต์ใช้ ขยายผลความรู้สู่เครือข่าย และดำเนินโครงการหรือ
กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนด้วยตัวเอง ผลการดำเนิน
การด้านส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ สามารถสร้างแกนนำระดับ 40 คน
แต่ละคนขยายผลการดำเนินโครงการในอำเภอต่อเนื่อง ซึ่งแกนนำและ
การทำงานขยายของแกนนำนี้เอง เป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จในระดับ
พื้นที่ของการเสริมพลังพลเมืองในระยะต่อมา
สำหรับยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างอาชีพที่มั่นคง ในปีงบประมาณ
2559 สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าส่งเสริม
การทำงานของภาคีเครือข่ายในกลไกระดับจังหวัด ขับเคลื่อนโครงการ
แผนพัฒนาข้าวหอมมะลิระดับจังหวัด ซึ่งนับเป็นการขยายเครือข่าย
ความร่วมมือประสานพลังดังวัตถุประสงค์ตามยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการเมืองโปร่งใส ความรู้จากการอบรมของ
สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าได้จุดประกาย
ความคิดให้แกนนำนำไปใช้ในการขับเคลื่อนการเลือกตั้งไม่ซื้อสิทธิ
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า