Page 17 - 22376_fulltext
P. 17
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
พร้อมจะร่วมแก้ไขปัญหา (คณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของ
ชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตภาคใต้, 2546) การพัฒนาชุมชน
เป็นกระบวนการพัฒนาคนให้มีศักยภาพเพียงพอและร่วมมือกันปรับปรุง
ความเป็นอยู่ของตนเองและชุมชน ทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์สาธารณะ
(สนธยา พลศรี, 2547) ความเข้มแข็งของชุมชนต้องมีการเข้าร่วมกิจกรรม
สาธารณะโดยสมัครใจของสมาชิกชุมชน (นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ,
2550) และ สมาชิกจะมีกระบวนการเรียนรู้และการเสริมสร้างการเรียนรู้
เป็นต้น ดังนั้น การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน และการสร้าง
พลังอำนาจของพลเมืองจึงเป็นความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ในฐานะ
กลไกขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ รวมทั้งแผนปฏิรูป
ประเทศด้านสังคมที่กำหนดไว้อย่างสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติที่ให้
ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาให้คนไทยมีจิตสาธารณะ สร้างสังคม
แห่งโอกาสและไม่แบ่งแยก ท้องถิ่นมีความเข้มแข็งสามารถบริหารจัดการ
ชุมชนได้ด้วยตนเอง ซึ่งล้วนเป็นคุณลักษณะของการเป็นชุมชนและสมาชิก
ชุมชนที่ได้รับการพัฒนาและเสริมพลังความเข้มแข็งทั้งสิ้น
การเสริมสร้างพลังพลเมืองผ่านการสร้างชุมชนเข้มแข็ง เป็น
กระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันสมาชิกกับชุมชน ตามแนวคิดโครงสร้าง
และผู้กระทำการ (Structure – agency) กระบวนการปฏิสัมพันธ์นั้น
เปรียบเสมือนตัวแทรกแซง (intervene) หรือการแทรกแซง
(intervention) เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเป็นไปในหลายรูปแบบ เช่น
การให้การศึกษา การปฏิบัติการ การใช้ตัวแบบ การใช้การกล่อมเกลาทาง
สังคม และสามารถดำเนินการได้ในทุกระดับพื้นที่ทั้ง บ้าน โรงเรียน
หมู่บ้าน ชุมชน สื่อ กลุ่มประชาสังคม โดยใช้เวลาและต่อเนื่อง กระบวนการ
ดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการเสริมพลัง การเรียนรู้เพื่อพัฒนาชุมชนร่วมกัน
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า