Page 19 - 22376_fulltext
P. 19
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
(concerned citizen) และพัฒนาสู่การเป็นพลเมืองที่ลงมือกระทำการเพื่อ
ประโยชน์ส่วนรวมทั้งทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งเรียกว่า
1
พลเมืองที่กระตือรือร้น (active citizen) โดยบูรณาการความร่วมมือของ
ทุกภาคส่วนในการสร้างความเป็นพลเมืองให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและ
ยั่งยืน และมุ่งหวังให้เกิดต้นแบบกระบวนการสร้างความเป็นพลเมือง
สำหรับขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
การดำเนินโครงการในช่วงดังกล่าวประกอบด้วย 5 ขั้นตอนใหญ่
คือ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ ระดับจังหวัดโดยประชุม
ร่วมกับหน่วยงานราชการและภาคีเครือข่าย 2) ดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้อง
กับยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ซึ่งได้แก่ การให้การศึกษาอบรมเพื่อสร้างพลเมือง
(civic education) การสร้างอาชีพที่มั่นคง การเมืองที่โปร่งใส การสร้าง
วินัยและคุณธรรม และการสร้างภาคีเครือข่าย ซึ่งกำหนดไว้เป็นพื้นที่
นำร่อง 3) การติดตามประเมินผล 4) การถอดบทเรียนเพื่อการเรียนรู้
5) พัฒนาองค์ความรู้เพื่อเป็นต้นแบบพัฒนาความเป็นพลเมือง
กิจกรรมที่ดำเนินการในพื้นที่นำร่อง ได้แก่ การอบรมพัฒนา
ศักยภาพผู้นำ อบรมให้ความรู้เรื่องการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาชุมชน
และการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ การส่งเสริม
1 นิยามความหมายในงานศึกษาเพื่อติดตามความเป็นพลเมือง กำหนดไว้ดังนี้
พลเมืองผู้ตระหนักรู้ (concerned citizen) หมายถึง ผู้ที่มีความสนใจ มีความรู้
มีความตระหนักในศักยภาพของตนเอง และตระหนักในความสำคัญของหลักการ
ประชาธิปไตยและประโยชน์ส่วนรวม
พลเมืองผู้กระตือรือร้น (active citizen) หมายถึง ผู้ที่กระทำการ ดำเนินการ
เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ และกิจกรรมทางการเมืองบนหลักการประชาธิปไตย
และเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า