Page 63 - kpi22237
P. 63

57


                                  มาตรา 39 นอกจากการพิจารณาส่งผู้ใดเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น

                           สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือแบบสัดส่วนตามวิธีการที่ก าหนดไว้ใน
                           มาตรา 38 ที่ประชุมใหญ่พรรคการเมือง อาจใช้วิธีการให้ผู้เข้าร่วมประชุมใหญ่พรรค
                           การเมืองลงมติเลือกผู้สมควรส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ

                           แบ่งเขตเลือกตั้งหรือแบบสัดส่วนได้ ในกรณีเช่นนี้ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง
                           และคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง จัดให้มีการด าเนินการ

                           ดังกล่าว โดยให้ผู้เข้าร่วมประชุมใหญ่ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง แต่ละคนมีเสียงหนึ่ง
                           ในการลงคะแนนให้ผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเรียงล าดับลงไปในเขตเลือกตั้งใดเป็น

                           ผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต
                           เลือกตั้งหรือแบบสัดส่วนในเขตเลือกตั้งนั้น แล้วแต่กรณี” (พระราชบัญญัติประกอบ

                           รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550) (เน้นโดยผู้เขียน)

                       โดยในมาตรา 39 นี้ได้ลงรายละเอียดมากกว่าการเลือกตั้งขั้นต้น จนไปถึงระดับของการประชุม
               เขตเลือกตั้งแบบคอคัส (caucus) เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมประชุมมาสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งและลงคะแนน

               เสียงให้ผู้ที่อาสาเข้ามาแข่งขันดังกล่าว จึงท าให้เห็นได้ว่าประเทศไทยตั้งแต่ปี 2550 ได้พยายามที่จะวางกรอบกติกา
               ในการด าเนินการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งไว้แล้ว แม้ว่าจะไม่ได้รับความปฏิบัติอย่างจริงๆ จากพรรคการเมืองก็ได้


                       เมื่อกล่าวถึงหลักการเลือกตั้งขั้นต้น (primary vote) ในฐานะหนึ่งในกระบวนการคัดเลือกผู้สมัคร
               ลงแข่งขันเลือกตั้งของพรรคการเมือง หลักการในปัจจุบันตามกฎหมายได้เริ่มจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา
               45 เรื่องเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองภายใต้หลักกฎหมายดังนี้


                           “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบ
                           ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่กฎหมายบัญญัติ


                                  กฎหมายตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารพรรค
                           การเมืองซึ่งต้องก าหนดให้เป็นไปโดยเปิดเผยและตรวจสอบได้ เปิดโอกาสให้สมาชิก

                           มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการก าหนดนโยบายและการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
                           และก าหนดมาตรการให้สามารถด าเนินการโดยอิสระไม่ถูกครอบง าหรือชี้น าโดยบุคคล

                           ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองนั้น รวมทั้งมาตรการก ากับดูแลมิให้สมาชิกของ
                           พรรคการเมืองกระท าการอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับ
                           การเลือกตั้ง” (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560) (เน้นโดยผู้เขียน)


                       จากหลักการในรัฐธรรมนูญมาตรา 45 ที่เป็นกฎหมายล าดับสูงสุดข้างต้น ท าให้การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
               ตามกฎหมายล าดับรองอย่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เป็นไปตาม

               มาตรา 47 ที่ก าหนดไว้ว่า
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68