Page 60 - kpi22237
P. 60
54
ในช่วงเวลาดังกล่าวการเคลื่อนไหวของกปปส. ได้มีการชูประเด็นเรื่อง “การปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง”
เนื่องจากรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 และได้ก าหนด
วันเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 แต่กลุ่ม กปปส. เห็นว่าการจัดเลือกตั้งดังกล่าวรีบเร่งเกินไป และ
จ าเป็นต้องมีการปฏิรูปการเมืองเพื่อให้เกิดความสุจริตและประชาชนสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองใน
พรรคการเมืองอย่างแท้จริงในการเลือกตั้ง ตั้งแต่สรรหาผู้สมัคร “ภายในพรรคการเมือง” จนถึงการเลือกผู้สมัคร
“ระหว่างพรรคการเมือง” ต่างๆ
การประท้วงดังกล่าว สอดรับกับพรรคการเมืองส าคัญอย่างพรรคประชาธิปัตย์ที่ประกาศผลการประชุม
ของคณะกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกพรรคในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ที่จะไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ส าหรับการจัดเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 โดยหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในเวลาดังกล่าวอย่างอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ ที่ได้กล่าวไว้ว่า
“...พรรคประชาธิปัตย์ได้ท าหน้าที่ของเราในสภาฯอย่างเต็มความสามารถ สามารถ
ชะลอยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นหลายอย่าง แม้พรรคจะได้แสดงบทบาทด้งกล่าว
แต่วิกฤตที่รัฐบาลได้ก่อขึ้นได้น าไปสู่วิกฤตพรรคการเมือง ท าให้การเลือกตั้ง 2
ก.พ.2557 ไม่ใช่การให้ค าตอบกับประเทศและไม่อาจท าให้เกิดการปฏิรูป
ประเทศได้ ซึ่งการลุกลามของวิกฤตศรัทธาที่มีต่อพรรคการเมืองท าให้การส่ง
ผู้สมัครของพรรคไม่สามารถแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้...” (โพสต์ทูเดย์, 21 ธันวาคม
2556) (เน้นโดยผู้เขียน)
แม้ว่าการเลือกตั้งจะสามารถจัดขึ้นได้ภายใต้บรรยากาศที่บางพื้นที่มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มที่
อยากเลือกตั้งและกลุ่มที่ต้องการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งบริเวณหน้าคูหา จนไม่สามารถท าการเลือกตั้ง
อย่างพร้อมเพรียงกันได้ ส่งผลให้ในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติ 6 ต่อ 3 เห็นว่า
พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่สามารถ
จัดการเลือกตั้งในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรได้ ส่งผลให้การเลือกตั้งดังกล่าวถือว่าเป็นโมฆะ
ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมืองที่ด าเนินไปอย่างต่อเนื่อง จนน ามาสู่เหตุการณ์รัฐประหารโดย
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยหัวหน้าคณะรัฐประหารดังกล่าวคือ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ภายใต้เหตุผล 10 ประการดังนี้