Page 61 - kpi22237
P. 61
55
“1. มีความขัดแย้งทางความคิดการเมืองอย่างรุนแรงจนถึงระดับครอบครัวคนไทย
2. การใช้อ านาจการปกครองแบบเดิมไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและ
การกระท าผิด 3. แนวทางการเลือกตั้งในรูปแบบเดิมมีการต่อต้านอย่างกว้างขวาง
ถ้าปล่อยไว้อาจเกิดปัญหาวุ่นวายไม่รู้จบ 4. การชุมนุมทางการเมืองส่งผลกระทบ
ต่อการใช้ชีวิตของประชาชนทุกหมู่เหล่า ท าให้ประชาชนแตกความสามัคคี 5. ปัญหา
ทุจริต 6. การบังคับใช้กฎหมายต่อปัญหาข้างต้น บังคับใช้ไม่ได้ทุกกลุ่ม ท าให้เกิด
ความหวาดระแวง เกลียดชังกันในหมู่ประชาชนเป็นวงกว้าง มีการยุยงปลุกปั่นให้ใช้
ความรุนแรง 7. การบริหารราชการแผ่นดินไม่สามารถกระท าได้อย่างเด็ดขาด
ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของชาติ และความทุกข์ของประชาชน 8. ความผิดต่อ
องค์พระมหากษัตริย์ไทย 9. การปลุกระดมมวลชนโดยไม่ค านึงถึงผลประโยชน์ของ
คนส่วนใหญ่ 10. มีการจัดตั้งและใช้กองก าลังติดอาวุธ” (ผู้จัดการออนไลน์, 2557)
(เน้นโดยผู้เขียน)
ในช่วงเวลาหลังรัฐประหารจึงมีการถกเถียงว่าจะต้องมีการปฏิรูปการเมืองอย่างไรบ้างที่จะน าไปสู่การสร้าง
การมีส่วนร่วมในพรรคการเมืองก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ซึ่งผ่านร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับของศาสตราจารย์กิตติคุณ
ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ จนมาถึงร่างที่สามารถผ่านและน ามาใช้จริงได้อย่างร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ฤชุพันธุ์
ที่ผ่านการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทยในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ที่ประชาชนเห็นชอบ
ในรัฐธรรมนูญดังกล่าวจ านวน 16,820,402 เสียง คิดเป็นร้อยละ 61.35 ในขณะที่ไม่เห็นชอบจ านวน 10,598,037
เสียง หรือคิดเป็นร้อยละ 38.65 ภายใต้เหตุผลที่หลากหลาย ตั้งแต่ความชื่นชอบรัฐธรรมนูญที่มีมาตราปราบ
คอร์รัปชันที่เข้มข้น จนไปถึงกลุ่มที่รับไปก่อนเพื่อรอแก้ไขใหม่ในอนาคต
เมื่อรัฐธรรมนูญประกาศในราชกิจจานุเบกษา 6 เมษายน พ.ศ. 2560 มีผลทางกฎหมายอย่างเป็นทางการ
จึงน ามาสู่กระบวนการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ (Organic Law) ซึ่งหนึ่งในกฎหมายดังกล่าวคือ
“ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ....” ที่พยายามออกแบบสถาบันการเมือง
อย่างพรรคการเมืองให้มีความเข้มข้นในเรื่องของการจัดตั้งพรรคการเมือง การบริหารพรรคการเมือง การมีสาขา
พรรค การส่งผู้สมัครเข้าแข่งขันเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการสรรหาผู้สมัคร
รับเลือกตั้งด้วยการเลือกตั้งขั้นต้น (primary vote) โดยหลักการและเหตุผลของร่างกฎหมายดังกล่าวได้เน้นย้ ากว่า
“...อย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารพรรคการเมืองที่ต้องก าหนดให้เป็นไปโดยเปิดเผยและตรวจสอบ
ได้ เปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการก าหนดนโยบายและส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
และก าหนดมาตรการให้สามารถด าเนินการโดยอิสระ ไม่ถูกครอบง าหรือชี้น าโดยบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิก
ของพรรคการเมือง...” (ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ฉบับเผยแพร่ต่อ
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาชนส าหรับรับฟังความเห็นวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559)