Page 57 - kpi22237
P. 57
51
การเก็บข้อมูลทั้งหมดในงานวิจัยฉบับนี้ได้รับหนังสือรับรองการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยภายใต้
คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของสถาบันพระปกเกล้า หนังสือเลขที่ KPIREC 04-09/007-63 ในรหัส
โครงการ KPIREC 01-04-63
3.2 ขอบเขตการวิจัย
1) ขอบเขตด้านเวลา: งานวิจัยนี้จะศึกษาตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2560 และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้
จนถึงการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562
2) ขอบเขตในการเก็บข้อมูล: งานวิจัยด าเนินการเก็บข้อมูลด้วยการส ารวจเอกสารและการสัมภาษณ์
เฉพาะในส่วนของประเด็นกระบวนการและระบบการสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น
3) ของเขตในเชิงเนื้อหา: งานวิจัยจะวิเคราะห์กระบวนการและระบบการสรรหาผู้ลงสมัคร
รับเลือกตั้ง ด้วยการศึกษาตัวบทกฎหมายเป็นหลัก โดยน าข้อมูลจากกรอบความคิดรวบยอดและ
การลงพื้นที่สัมภาษณ์มาท าการตรวจสอบเนื้อหาด้วยกระบวนการสามเส้า (triangulation)
3.3 การตรวจสอบข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
ตรวจสอบความเที่ยง (validity) ของค าถามในการสัมภาษณ์ด้วยการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ และตรวจสอบ
ความเชื่อมั่น (reliability) ในการเก็บข้อมูลจากกรณีศึกษา การสัมภาษณ์ และทฤษฎีด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้า
(triangulation) เพื่อให้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมามีความเที่ยงและตรงต่อค าอธิบายและการตอบโจทย์งานวิจัย
ในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เป็นสิ่งส าคัญ เพื่อให้ข้อมูลที่ได้จะ
เป็นการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ซึ่งจะท าให้ข้อมูลมีความตรงและเที่ยงยิ่งขึ้น โดยมีขั้นตอนการวิเคราะห์ดังนี้คือ
ใช้วิธีการเก็บข้อมูลมาตรวจสอบซึ่งกันและกัน ได้แก่ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ได้จาก
การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อน ามาวิเคราะห์ และตรวจสอบข้อมูลของผู้ให้สัมภาษณ์
รวมกับการตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล (data triangulation) คือ การพิสูจน์ว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มานั้นถูกต้อง
หรือไม่ วิธีการตรวจสอบของข้อมูลนั้น จะต้องตรวจสอบแหล่งที่มา 3 แหล่ง ได้แก่ เวลา สถานที่ และบุคคล
1. การตรวจสอบแหล่งเวลา หมายถึง การตรวจสอบข้อมูลในช่วงเวลาที่ต่างกันเพื่อให้ทราบว่าข้อมูล
ที่ได้รับในช่วงเวลาต่างๆ นั้นเหมือนกันหรือไม่
2. การตรวจสอบสถานที่ หมายถึง ข้อมูลต่างสถานที่กันจะเหมือนกันหรือไม่
3. การตรวจสอบบุคคล หมายถึง บุคคลผู้ให้ข้อมูลเปลี่ยนข้อมูลจะเหมือนเดิมหรือไม่
ประกอบกับการน าข้อมูลมาเทียบเคียงกับทฤษฎีเพื่อวางกรอบค าอธิบายส าหรับการหาความสัมพันธ์
ระหว่าง “ระบบการคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้ง” และ “การพัฒนาประชาธิปไตย” ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิง
ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล โดยเริ่มจากการพรรณนาให้เห็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตทาง