Page 9 - kpi22228
P. 9

1





                                                         บทที่ 1

                                                          บทนํา


               1.1 ที่มาและความสําคัญของปญหา

                       กิจกรรมทางการเมืองที่สําคัญของระบบการเมืองคือ “การเลือกตั้ง” ซึ่งในระบอบประชาธิปไตย

               ไดเปดโอกาสใหแตละพรรคการเมืองตองแขงขันในการแสวงหาความนิยมทางการเมือง เพื่อบรรลุถึงชัยชนะ
               ในการเลือกตั้ง ซึ่งการศึกษาปฏิบัติการของพรรคการเมืองดังกลาวอาจจะเรียกในสวนของการแสวงหา

               ความนิยมทางการเมืองนั้นวาเปน “การตลาดการเมือง” (political marketing) ซึ่งมีเปาประสงคเพื่อรักษา

               ฐานเสียงหรือความนิยม ขยายแนวรวม เปลี่ยนทัศนคติของประชาชน ทั้งผูมีสิทธิเลือกตั้ง หรือยังไมมี
               สิทธิเลือกตั้ง เปลี่ยนแปลงทัศนคติของบุคคลเหลานั้น เชน จากความเกลียดชังมาเปนเฉย ๆ จากทัศนคติเฉย ๆ

               มาสนใจ จากสนใจมาเขารวม การตลาดการเมืองจึงทําหนาที่โนมนาว เปลี่ยนมุมมอง ลดอคติ เปลี่ยนใจใหเขา

               มาสนับสนุนและเขารวมกิจกรรมทางการเมือง และในที่สุดเปนทั้งฐานมวลชน ฐานเสียง หรือกระทั่งเขามาสู
               การเปนบุคลากรของพรรคหรือสามารถผานเขาสูการสมัครลงเลือกตั้งในนามพรรค



                       ในการศึกษาการตลาดการเมืองไทยยังเปนเรื่องใหม ซึ่งนับแตการเลือกตั้งภายใตรัฐธรรมนูญ
               แหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กลาวไดวาพรรคการเมืองเรียนรูการตลาดการเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะ

               การปรากฏตัวของพรรคไทยรักไทยที่ใชแนวทางการแสวงหาความนิยมในการเลือกตั้งทั่วไปของ

               สมาชิกสภาผูแทนราษฎรตั้งแตป พ.ศ. 2544 เปนตนมา ตั้งแตการตั้งชื่อพรรค สัญลักษณและการทดสอบความ
               นิยมของผูสมัครกอนจะดําเนินการสงสมัครรับเลือกตั้ง ผลการดําเนินงานของพรรคไทยรักไทยสะทอนใหเห็น

               ความสําเร็จของพรรคสวนหนึ่งมาจากการจัดการและตลาดทางการเมือง และสงผลใหการเลือกตั้งในครั้งตอ ๆ

               มา ไดมีการใชการตลาดการเมืองไทยในการหาเสียงเลือกตั้งเพิ่มมากขึ้น จนเรียกไดวา แตละพรรคมี
               การทําการตลาดของพรรคการเมืองไมมากก็นอย



                       ทั้งนี้ เปนที่ถกเถียงกันวารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติพรรคการเมือง ตลอดจน
               กฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งอาจจะนําพาการเมืองไทยยอนกลับไปสูยุคกอนที่จะเกิดปฏิรูปการเมืองในชวงป

               พ.ศ. 2535 เชน การออกแบบการเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียว โดยใชการนับคะแนนแบบจัดสรรปนสวนผสม

               ยังมีมาตรการใหมที่กําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกตั้งขั้นตน (แมภายหลังจะมีมาตรา 44 ออกมาสราง
               ความยืดหยุนใหกับมาตรการดังกลาว) รายละเอียดบางประการยังรวมไปถึงเงื่อนไขใหมเกี่ยวกับการจัดตั้ง

               พรรคการเมือง หนาที่และสถานภาพของสมาชิกพรรคการเมือง และคณะกรรมการบริหารพรรค รวมทั้ง

               การกําหนดโทษของพรรคการเมืองไวสูงมาก นอกจากนี้ ยังมีการกําหนดอัตราคาใชจายในการเลือกตั้งของ
               พรรคการเมืองและวิธีการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองในมาตรา 62-83 ของพระราชบัญญัติประกอบ

               รัฐธรรมนูญวาดวยการเลือกตั้ง บทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เพิ่มมากขึ้น พรอมกับการประกาศ
               ยุทธศาสตรชาติ 20 ป และแผนการปฏิรูปประเทศ 13 ดาน ซึ่งเปนการกํากับนโยบายระยะยาวของ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14