Page 260 - 22221_Fulltext
P. 260

2



                       โครงการนี้เป็นการบูรณาการร่วมกันของเครือข่ายราชการหลายเครือข่ายและเครือข่าย
                  ประชาชนในพื้นที่ดำเนินการร่วมกัน โดยจัดให้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
                  (MOU) ระหว่างเครือข่าย และแต่งตั้งคณะทำงานจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง กำหนด

                  หน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันในการขับเคลื่อนโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงของ
                  ชาวประมงพื้นบ้าน โดยใช้แนวทางที่จะสร้างแหล่งอาศัย แหล่งอนุบาลพันธุ์สัตว์ ในบริเวณ
                  ชายฝั่งทะเลให้มีปริมาณมากขึ้น ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านสามารถจับสัตว์น้ำได้เพิ่มขึ้น
                  โดยไม่ต้องออกไปห่างฝั่ง นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในการประกอบอาชีพ รวมถึง
                  ยังเป็นการสร้างสมานฉันท์ที่ดีต่อกันภายในชุมชนประมงพื้นบ้านอีกด้วย


                       “ซั้งเชือก” คือหญ้าเทียม เป็นการนำภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาในอดีต มาทดแทน
                  หญ้าจริงในทะเล ซึ่งมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับหญ้าจริงมาก ส่วนประกอบคือเชือกใยยักษ์
                  โดยคลี่เชือกจากเส้นใหญ่ให้เป็นเส้นเล็กฝอยและนำไปวางลงในทะเลในจุดที่มีความลึกของ
                  น้ำทะเลที่เหมาะสม โดยให้ซั้งเชือกทำหน้าที่เป็นแหล่งเพาะฟักตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อน

                  แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก รวมถึงปลานานาชนิดและสัตว์น้ำทะเลอื่นๆ ได้มาอยู่อาศัย
                  ร่วมกัน ดังนั้น “ซั้งเชือก” จึงเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับชุมชนประมงพื้นบ้าน

                       ผลการดำเนินงาน


                       ปัจจุบันเกิดผลผลิตเชิงประจักษ์ต่อชุมชน คือพื้นที่โครงการมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น
                  ชุมชนมีผลผลิตมากขึ้นและขนาดของปลาใหญ่ขึ้น

                       1.  ชาวประมงพื้นบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นเนื่องจากการวางซั้งเชือก ทำให้ทะเลชายฝั่ง

                  มีความอุดมสมบูรณ์ ปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้รายได้เพิ่มขึ้น
                  วันละ 500-1000 บาท

                       2. ชาวประมงพื้นบ้านมีรายจ่ายน้อยลงเนื่องจากไม่ต้องออกเรือไกลจากฝั่ง สามารถ
                  ลดเวลาและค่าน้ำมันเชื้อเพลิง วันละ 100 - 200 บาท


                       3. สามารถพัฒนาบริเวณซั้งเชือกเป็นแหล่งตกปลาให้กับนักท่องเที่ยวสร้างรายได้เสริม
                  เดือนละ 2000 – 3000 บาท

                       4. ในการจัดทำและวางซั้งเชือกกำหนดให้ประชาชนในหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการทำให้
                  ประชาชนมีงานทำหมู่บ้านละ 20 - 30 คน มีรายได้เสริมระหว่างโครงการ เช่น ได้รับค่าจ้าง

                  จากการคลี่เชือก ต้นละ 350 บาท ทิ้งซั้ง ต้นละ 300 บาท หล่อลูกปูน ลูกละ 150 บาท
                  เป็นต้น



                                                                                 รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264   265