Page 259 - 22221_Fulltext
P. 259

2



               ชาวประมงที่มีใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้านห้ามออกทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง
               ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านที่มีใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน จึงสามารถทำการประมง
               ในบริเวณเขตทะเลชายฝั่งเท่านั้น ขณะที่นอกเขตทะเลชายฝั่งจะเป็นพื้นที่ทำการประมงของ

               ประมงพาณิชย์ จะเห็นว่าการบริหารจัดการข้างต้นสร้างความไม่เป็นธรรมให้แก่ประมง
               พื้นบ้าน ทั้งที่ชาวประมงพื้นบ้านมีจำนวนมากกว่าประมงพาณิชย์

                     วัตถุประสงค์โครงการ

                     1. เพื่อขยายผลการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำทะเลในพื้นที่นำร่อง โดยให้

               ซั้งเชือกทำหน้าที่เป็นแหล่งเพาะฟักสัตว์น้ำวัยอ่อน แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก รวมถึง
               ปลานานาชนิดและสัตว์น้ำทะเลอื่นๆ ได้มาอาศัยอยู่รวมกัน

                     2. เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับชุมชนประมงพื้นบ้าน ที่ทำประมงในบริเวณ
               ชายฝั่งทะเลของจังหวัดสตูล


                     3. เพื่อสร้างจิตสำนึกร่วมและความเข้มแข็งภายในชุมชน ในการร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู
               ทรัพยากรใต้ท้องทะเล โดยเฉพาะฝั่งทะเลหน้าชุมชนประมงพื้นบ้าน ให้มีปริมาณสัตว์น้ำทะเล
               เพิ่มมากขึ้นอย่างยั่งยืน


                     4. เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ให้กับประชาชน

                     องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล โดยสภาเกษตรกรรมองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
               ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปีงบประมาณ 2557 ดำเนินการในลักษณะเวทีระดมความคิดเห็นจาก
               ภาคส่วนต่างๆ ภายใต้กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยสภามีมติให้ดำเนินโครงการจัด

               ทำซั้งเชือกฯ เป็นครั้งแรกเมื่อปีงบประมาณ 2559
























             รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264